กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพร ๕ ชนิดในการดูแลสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

รพ.สต.บ้านโคกยา

รพ.สต.บ้านโคกยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ฯลฯมีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้
จังหวัดพัทลุง เป็นตักศิลาทางด้านการแพทย์แผนไทยที่สำคัญของทางภาคใต้ และมีหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการนำสมุนไพรที่มีอยู่ใกล้ตัว มาใช้ในการดูแลสุขภาพ ผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและสามารถลดรายจ่ายของครอบครัว และทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในสมุนไพรไทย 5 ชนิดในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

100% ของกลุ่มเป้าหมายมีสมุนไพร 5 ชนิดและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

0.00
2 สนับสนุนให้มีสมุนไพรใช้ในการดูแลสุขภาพทุกครัวเรือน

100% ของกลุ่มเป้าหมายมีสมุนไพร 5 ชนิดและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 62
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรม.ให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องประโยชน์และการนำสมุนไพรมาใช้และนโยบายเมืองสมุนไพร 2.จัดสวนสมุนไพรสาธิตเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรม.ให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องประโยชน์และการนำสมุนไพรมาใช้และนโยบายเมืองสมุนไพร 2.จัดสวนสมุนไพรสาธิตเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรม.ให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องประโยชน์และการนำสมุนไพรมาใช้และนโยบายเมืองสมุนไพร 2.จัดสวนสมุนไพรสาธิตเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมเกิดความใส่ใจ ตระหนัก เห็นความสำคัญ และร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรให้คงอยู่ไปจนรุ่นลูกหลาน ๒.เกิดฐานการเรียนรู้และคลังภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพรที่เยาวชนและประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ได้ ๓.เกิดการอนุรักษ์พันธุ์ไม้สมุนไพรหายากให้คงอยู่ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเรียนรู้ต่อไป ๔.ชุมชนหันมาใส่ใจในเรื่องการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพอย่างจริงจังและร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมเกิดความใส่ใจ ตระหนัก เห็นความสำคัญ และร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรให้คงอยู่ไปจนรุ่นลูกหลาน
๒.เกิดฐานการเรียนรู้และคลังภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพรที่เยาวชนและประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ได้
๓.เกิดการอนุรักษ์พันธุ์ไม้สมุนไพรหายากให้คงอยู่ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเรียนรู้ต่อไป
๔.ชุมชนหันมาใส่ใจในเรื่องการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพอย่างจริงจังและร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน


>