กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
กลุ่มคน
1.นางมุฑิตา คุดเขียนสืบผู้ประสานงาน คนที่ 1
2.นางสาวอาอีฉ๊ะ รายาผู้ประสานงาน คนที่ 2
3.นางบรรจงจงรักษ์
4.นางสาวนงนุช สาล่าห์
5.นางพิชญา พลูขาว
3.
หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอย (หมายถึง ขยะทั่วไปที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน) ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ในทะเล เป็นต้น

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนในชุมชนซึ่งทุกคนเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆทำให้สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดี ชุมชนบ้านท่าแลหลามีประชากรจำนวน 1,766 คน 488 ครัวเรือน ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งและการคัดแยกไม่ถูกวิธีมีจำนวนมาก บริเวณข้างถนนมีการทิ้งขยะกลาดเกลื่อน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค คือ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง สถานการณ์โรคในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 3, 21 และ 23 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 177.096, 1193.86 และ 1307.56 ตามลำดับ (ที่มา จากศูนย์ระบาดอำเภอละงู ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2561) เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะในชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลงและหมดไปในอนาคต

ผู้จัดทําได้ตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการสร้างแกนนำครัวเรือนต้นแบบ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อที่มีพาหะนำโรคโดยอาศัยการแพร่พันธุ์ในกองขยะ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนต่อไปโดยเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล การคัดแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
    ตัวชี้วัด : 1. อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์/ถังขยะเปียกในครัวเรือน 2. ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 3. ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.1 คัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน เป็นต้น
    1.2 จัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน
    1.3 พัฒนาแกนนำ โดยประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไขและติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง

    เป้าหมาย - แกนนำชุมชน จำนวน 20 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
    • ค่าตอบแทนประชุม จำนวน 20 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท
    งบประมาณ 14,000.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    2.1 ให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน จัดกิจกรรมจำนวน 1 วัน

    2.2 ประเมินความรู้ก่อน – หลังอบรม

    เป้าหมาย - ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน50 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65บาท เป็นเงิน 3,575 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตรเป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ และเอกสารอบรม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท
    งบประมาณ 12,600.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1 คณะผู้จัดทำโครงการร่วมกับแกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน เดินรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน

    3.2 ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ครัวเรือน เข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

    3.3 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนต้นแบบ จะได้รับป้ายสัญลักษณ์ “ครัวเรือนปลอดขยะ”

    เป้าหมาย

    • แกนนำชุมชน จำนวน 20 คน
    • แกนนำนักเรียน จำนวน 20 คน
    • ประชาชนทั่วไป จำนวน 10 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
    • ค่าป้ายสัญลักษณ์ “ครัวเรือนปลอดขยะ” ขนาด 20x50 เมตร จำนวน 50 ป้ายๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยก และป้ายรณรงค์ไม่ทิ้งขยะบริเวณข้างถนน ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 6 ป้ายๆละ 432 บาท เป็นเงิน 2,592 บาท
    งบประมาณ 8,692.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    4.1 คณะผู้จัดทำโครงการลงพื้นที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน จำนวน 2 ครั้ง โดยการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ดังนี้

    1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ เป็นต้น แต่ละครัวเรือนจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกครัวเรือน
    2. ขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม ทิชชู แก้วกระดาษ เป็นต้น กำจัดขยะโดยการเก็บรวบรวมในถังขยะ และรถของ อบต.จะดำเนินการจัดเก็บขยะ
    3. ขยะอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ถ่ายไฟ หลอดไฟ เป็นต้น เก็บรวบรวม ณ จุดในหมู่บ้าน อบต.จะดำเนินการรวบรวมและส่งให้ อบจ.กำจัดเอง
    4. ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กล่องเครื่องดื่มต่างๆ ขวดแก้ว เป็นต้น สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือนำขายที่ร้านรับซื้อของเก่า

    4.2 ติดตามอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน

    เป้าหมาย - ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 ครัวเรือน

    งบประมาณ

    • ไม่ขอใช้งบประมาณ
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    เป้าหมาย- คณะทำงานโครงการจำนวน5คน

    • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 2,800.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 38,092.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนในชุมชนมีอัตราการป่วยลดลง
  2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs
  3. มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาลและปลอดขยะ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 38,092.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................