กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพป้องกันโรคฟันผุในโรงเรียนพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพป้องกันโรคฟันผุในโรงเรียนพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลจะแนะ

โรงเรียนบ้านไอร์โซโรงเรียน ตชด.บ้านไอร์บือแตและห้องประชุมโรงพยาบาลจะแนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กวัยเรียน (3-12 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

54.48

ฟันมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยในการออกเสียง เพิ่มความสวยงามบนใบหน้าและยังเป็นส่วนเสริมสร้างบุคลิกที่ดีส่งผลต่อการเข้าสังคม แต่จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เด็กมีแนวโน้มโรคฟันผุและเหงือกอักเสบมากขึ้น การป้องกันมิให้มีโรคฟันแท้ผุ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแล โดยวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคฟันผุ คือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
จากข้อมูลการสุ่มสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ในโรงเรียนพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ เขตตำบลช้างเผือก ปี ๒๕๖๑ ในเด็กอายุ ๑๒ ปี พบว่า มีอัตราการเกิดฟันผุร้อยละ ๕๖.๘๓ และปี ๒๕๖๒ อัตราการเกิดฟันผุลดลง เหลือร้อยละ ๕๔.๔๘ ซึ่งลดลงกว่าปีก่อนร้อยละ ๒.๓๕ แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั้งประเทศที่มีค่าร้อยละ ๕๒.๓ จากการดำเนินโครงการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในโรงเรียนเขตตำบลช้างเผือกทั้ง ๒ โรงเรียน ในปี ๒๕๖๑ และ๒๕๖๒ พบว่าเด็กนักเรียนแปรงฟันได้ถูกวิธีและเป็นระบบร้อยละ ๒๒.๓๔ และ ๒๕.๐๓ ตามลำดับ จากการย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์เพื่อประเมินความสะอาดการแปรงฟันของเด็กนักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนจำนวน ๕๔ คน ปี ๒๕๖๒ พบว่าเด็กแปรงฟันสะอาดอยู่ในเกณฑ์ดีมากเพียงร้อยละ ๔.๐๔ เกณฑ์สะอาดดีร้อยละ ๑๗.๖๐ เกณฑ์สะอาดพอใช้ร้อยละ ๓๘.๗๖ และเกณฑ์สะอาดน้อยร้อยละ ๓๙.๖ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลจะแนะจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากและการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อการสร้างเสริมและป้องกันโรคในช่องปาก จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพป้องกันโรคฟันผุ ปี ๒๕๖๓ เพื่อบูรณาการงานด้านทันตกรรมสาธารณสุขกับการปรับพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในโรงเรียนทุกวันอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละของนักเรียนในโรงเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน

60.00 100.00
2 เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะในการแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี

ร้อยละของนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง

62.40 90.00
3 เพื่อสร้างพฤติกรรมการแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของนักเรียน อนุบาล 1 -ป.6ได้รับการตรวจฟัน

82.00 100.00
4 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมและแก้ไขปัญหาตามระดับ

ร้อยละของนักเรียน อนุบาล 1 -ป.6 ได้รับการรักษาแบบบูรณาการ เช่น อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน เป็นต้น

62.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 510
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 15/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนแต่ละคน จำนวน 510 คน 2.ให้คำแนะนำเด็กขณะตรวจสุขภาพช่องปาก งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวน 25 บาท x 7 คน x 2 มื้อ x 4 วัน = 1,400 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 50 บาท x 7 คน x 1 มื้อ x 4 วัน = 1,400 บาท รวมเป็นเงิน2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต นักเรียน อนุบาล ๑-ป.๖ ได้รับการตรวจฟัน
ผลลัพภ์ นักเรียน อนุบาล 1-ป.6 ได้รับการตรวจฟันและสุขภาพช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการแปรงฟันและให้ทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนและให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลายในกรณีที่จำเป็น (ระดับ จ.) แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะการแปรงฟันและให้ทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนและให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลายในกรณีที่จำเป็น (ระดับ จ.) แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 2.ย้อมสีฟันและฝึกทักษะการแปรงฟัน 3.ตรวจความสะอาดหลังแปรงฟัน 4.ให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลายในกรณีที่จำเป็น (ระดับ จ.) แก่เด็กนักเรียน งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวน 25 บาท x 7 คน x 2 มื้อ x 8 วัน = 2,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 50 บาท x 7 คน x 1 มื้อ x 8 วัน = 2,800 บาท 3.ค่าชุดอุปกรณ์ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่นักเรียนจำนวน510 คน - ค่าแปรงสีฟัน 510 คน x 10 บาท เป็นเงิน 5,100บาท - ค่ายาสีฟัน 510 คน x 25 บาท เป็นเงิน 12,750 บาท รวมเป็นเงิน23,450บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน 2.นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง 3.นักเรียน อนุบาล 1 -ป.6 ได้รับการรักษาแบบบูรณาการ เช่น อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน เป็นต้น ผลลัพภ์ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารบกลางวันทุกวัน นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23450.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำสุขภาพนักเรียน โรงเรียนละ ๒๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำสุขภาพนักเรียน โรงเรียนละ ๒๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 2.ย้อมสีฟันและฝึกทักษะการแปรงฟัน 3.ฝึกแกนนำนักเรียนสอนแปรงฟันให้ผู้อื่น เพื่อเป็นต้นแบบในการกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและดูแลทันตสุขภาพในโรงเรียน งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ จำนวน 25 บาท x 40 คน x 2 มื้อ = 2,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 บาท x 40 คน x 1 มื้อ = 2,000 บาท 3.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชั่วโมง = 3,000 บาท รวมเป็นเงิน7,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน 2.นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง ผลลัพภ์ นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนประถมศึกษาในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สามารถ แปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
2. นักเรียนประถมศึกษาในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้รับการ ตรวจฟันร้อยละ ๑๐๐
3. นักเรียนประถมศึกษาในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปราศจากฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น


>