กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุชะลอสมองเสื่อม ลดการถอยสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

1. ผศ.จิรพรรณ พีรวุฒิ ที่ปรึกษาโครงการ
2. ผศ.ดร.ทรงพร จันทรพัฒน์
3. ผศ.กัญจนี พลอินทร์
4. อ.กฤษณา เฉลียวศักดิ์
5. อ.วรรณลี ยอดรักษ์

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผุ้สูงอายุ คระพยาบาลศาสตร์ ม ทักษิณอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การที่ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองได้หรือลดการพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เป็นตัวชี้วัดสำคัญของนโยบายด้านผู้สูงอายุ จากข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ เขตอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีผู้สูงอายุจำนวน 4,872 คน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ สอดคล้องกับพื้นที่หมู่ที่ 1 2 3 8 และ 9 ตำบลบ้านพร้าว โดย ร.พ.สต. มีการคัดกรอง ADL พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ 1 คือช่วยเหลือตนเอง ชุมชน และสังคมได้ แต่จากการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม พบว่าผู้สูงอายุบางส่วนมีสมรรถภาพทางสมองลดลง ถึงแม้จะพบจำนวนไม่มากแต่ปัญหาสมองเสื่อมมีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยตรงที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้นในวัยสูงอายุ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงเนื่องจากการดำเนินกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองลดลง ต้องพึ่งพาผู้ดูแล ขณะที่ผู้ดูแลมีหลายบทบาท จะทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดการทารุณกรรมแก่ผู้สูงอายุได้ จากงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มที่สงสัยมีภาวะสมองเสื่อม มีเปอร์เซ็นต์การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลงมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม (นงนุช โอบะ, 2558) หากผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ สมองด้านความคิด ด้านอารมณ์ การสื่อสาร การเคลื่อนไหว ความเข้าใจ การได้ยิน การมองเห็น และด้านการจดจำ จะช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาทได้และยังเพิ่มแขนงเซลล์ประสาทต่อไป ยังคงทำให้ผู้สูงอายุดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอีกทั้งเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดหรือบอกต่อแก่ผู้อื่นได้ เพื่อลดโอกาสในการถดถอยจากกลุ่มติดสังคมสู่การติดบ้านและติดเตียง จึงควรพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุเพื่อบอกต่อและเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นต่อไป รวมถึงสร้างเสริมทักษะชะลอความเสื่อมของสมองแก่สมาชิกผู้สูงอายุเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาทักษะด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกาย และกิจกรรมลดพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาสมองทั้ง 8 ด้าน ปัจจุบันสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ มีจำนวนกว่า 50 คน จากการคัดกรอง ADL และสมองเสื่อม พบว่า ADL อยู่ในกลุ่ม 1 ไม่มีภาวะสมองเสื่อม แต่มีแนวโน้มเกิดภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากส่วนใหญ่มีความพร่องการทำหน้าที่ของสมองด้านการจดจำ การคิดคำนวณ การมองเห็น และมีการเคลื่อนไหวช้าลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน 2.ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะป้องกันสองเสื่อมในด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกาย และลดพฤติกรรมเสี่ยง 3.ผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ได้รับการพัฒนาเป็นต้นแบบป้องกันสมองเสื่อมในด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกายและลดพฤติกรรมเสี่ยง

-คะแนนสมรรถภาพทางสมองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของสมาชิกผู้สูงอายุ/ต้นแบบผู้สูงอายุด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกายและลดพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน  10 คน -ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สุงอายุจัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม/สมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุต้นแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุชะลอสมองเสื่อม ลดการถอยสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุชะลอสมองเสื่อม ลดการถอยสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รู้ตนเองก่อนสมองเสื่อม   1.1ประเมินสมรรถภาพทางสมอง   1.2ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน 2.กิจกรรมพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบและเสริมสร้างทักษะชะลอสมองเสื่อมแก่สมาชิกผู้สูงอายุเพื่อลดการถอยเข้าสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง   2.1 บริหารสมอง   2.2บริหารจิต   2.3 บริหารกาย   2.4ลดพฤติกรรมเสี่ยง งบประมาณ -ค่าป้ายโครงการ 1*3 เมตร เป็นเงิน  450.- -ค่าเอกสารในการจัดกิจกรรม (50ชุดx4บาท) เป็นเงิน 200.- -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม( 15บาทx20ครั้งx30คน)  เป็นเงิน 9000.- -ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มในกิจกรรมสรุป การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบและเสริมสร้างทักษะชะลอสมองเสื่อมแก่สมาชิตผู้สูงอายุ ( 50บาทx2ครั้งx30คน)เป็นเงิน 3000.- -ค่าวิทยากรพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบทั้ง 4 ด้าน (500บาทx1ครั้งx4คน) เป็นเงิน 2000.- รวามเป็นเงินทั้งสิ้น  14650.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs)  คะแนนสมรรถภาพทางสมองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของสมาชิกผู้สูงอายุ/ต้นแบบผู้สูงอายุด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกายและลดพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน  10 คน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สุงอายุจัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม/สมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุต้นแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สุงอายุจัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม/สมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุต้นแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม


>