กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ประชาชนทุกกลุ่มวัยใส่ใจสุขภาพ (ชมรม อสม.หมู่ที่ 9)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม.หมู่ที่9

1 นางทวิพรสร้อยทอง
2 นางสุคนธ์พิทักษ์กิจ
3 นางสมทรง เพ็งคลิ้ง
4 นางนัยนาพลูเกิด
5 นางสาวปิยวรรณ เลียดรักษ์

หอประชุมหมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หมู่ที่ 9 ต.บ้านพร้าว มีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,038 คน แยกเป็นเพศชาย 518 คน เพศหญิง 520 คน ในจำนวนดังกล่าวประกอบด้วย ประชากรกลุ่มเด็ก 0-6 ปี จำนวน 134 คน ,วัยรุ่น จำนวน 170 คน,วัยทำงาน จำนวน 432คน,จำนวนผู้สูงอายุ-ผู้พิการ จำนวน 15คน ซึ่งในกลุ่มประชากรทั้ง 5 กลุ่มนี้จะต้องมีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำตั้งแต่กลุ่มเด็ก 0-6 ปี จนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ-ผู้พิการ เพื่อเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายและเป็นการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งโรคส่วนใหญ่ปัจจุบันสาเหตุหลักๆ เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ปลอดภัย อาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน และการมีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งปัจจัยหล่าวนี้ส่งผลต่อการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก 0-6 ปี โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน หัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็ง ฉะนั้นแกนนำ อสม. หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าวจึงได้จัดโครงการ 5 กลุ่มวัยใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคของประขาชนในหมู่บ้าน เพื่อลดการเกิดโรคที่ป้องกันได้ให้กับประชาชนในหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดี รู้ภาวะสุขภาพของตนเองเพื่อนำไปสู่การป้องกันโรคได้ 2 มีครอบครัวต้นแบบเรื่องสุขภาพเกิดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อเป็นแบบอย่างให้ครอบครัวใกล้เคียงได้ปฏิบัติตามและลดการเกิดโรคในอนาคตได้
  • ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 สามารถรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของตนเองได้ -ร้อยละ 80 ของประชากรที่เข้าร่วมโครงการมีอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษไว้บริโภคและแบ่งปันให้กับครัวเรือนใกล้เคียงด้วย
80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ ประชาชนทุกกลุ่มวัยใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
โครงการ ประชาชนทุกกลุ่มวัยใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจ คัดกรอง ครอบครัวเด็ก 0-6 ปีที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย

- อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการให้กับผู้ปกครองเด็ก 0-6 ปี ที่ไม่สมวัย
2. คัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดประชาชนทุกกลุ่มวัย
3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย -กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 5.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษตกค้าง 6. อบรมการทำเมนูสุขภาพจากผักข้างบ้านที่ปลอดสารพิษตกค้าง 7.กิจกรรมตลาดนัดแลกเปลี่ยนปลอดสารพิษ 8.กิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบ 9.ติดตามและประเมินผล งบประมาณ กิจกรรม สำรวจ คัดกรอง -ค่าป้ายโครงการ 1*3@150.- เป็นเงิน450.- --ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 25 บาทเป็นเงิน 1000.- -ค่าวิทยากร 300 บาท x 3 ชมเป็นเงิน 900.- -วัสดุส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 40 ชุด x 50 บาท เป็นเงิน 2000.- - อาหารเสริมสำหรับเด็ก(นม) 40 ชุด x60 บาทเป็นเงิน2400.- กิจกรรม คัดกรองประชาชนทุกกลุ่มวัย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน X25 บาท เป็นเงิน 2500.- -ค่าวิทยากร 3 ชม x 300 บาท เป็นเงิน 900.- -ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 2 ชุด x 700 บาท เป็นเงิน 1400.- กิจกรรมอบรมให้ความรู้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท เป็นเงิน1250.- -ค่าวิทยากร 3 ชม x 300 บาท เป็นเงิน 900.- กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษตกค้าง -ค่าต้นกล้าพันธ์ผัก 50 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2500.- กิจกรรมอบรมการทำเมนูสุขภาพจากผักข้างบ้านที่ปลอดสารพิษตกค้าง -ค่าวัสดุอุปกรณ์การทำเมนูสุขภาพ 1000.- --ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1250.- -ค่าวิทยากร 3 ชม x 300 บาท เป็นเงิน 900.- กิจกรรมตลาดนัดแลกเปลี่ยนปลอดสารพิษ -ค่าป้ายชื่อผัก/ป้ายบอกราคา 50 ครัวเรือนx 50 บาท เป็นเงิน 2500.- กิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบ -ค่าเกียรติบัติรพร้อมกรอบ 5 ชุด x 250 บาท เป็นเงิน 1250.- เงินทั้งสิ้น23100.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs)  ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 สามารถรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของตนเองได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) ร้อยละ 80 ของประชากรที่เข้าร่วมโครงการมีอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษไว้บริโภคและแบ่งปันให้กับครัวเรือนใกล้เคียงด้วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อป้องกันการเกิดโรค
2. ส่งเสริมการทำเมนูสุขภาพจากผักข้างบ้านให้กับประชาชน เพื่อเป็นการประหยัดและได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
3. มีครอบครัวต้นแบบเรื่องการผลิตอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน


>