กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหว้า

รพ.สต.นาหว้า

นายหนูพลอย วรขันธ์

เขตรับผิดชอบ อบต.นาหว้า หมู่ 5,6,7,8,9 จำนวน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การระบาดโรคไข้เลือดออกเป็นการสะสมขยะในบ้านของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาหว้า การจัดเก็บขยะหรือของใช้ อุปกรณ์ทางการเกษตรที่ไม่เรียบร้อยทำให้เป็นแหล่งก่อเกิดลูกน้ำยุงลายมากขึ้น

20.00
2 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

ปริมาณขยะในครัวเรือนเป็นขยะต้นทางที่ไม่ได้ถูกคัดแยกจะมีขยะที่ใช้ประโยชน์ได้ปะปนกันทำให้ปริมาณขยะจำนวนมาก ถึงครัวเรือนละ 2 กิโลกรัมต่อวัน

1,200.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

บางครัวเรือนมีการคัดแยกและเป็นส่วนสำคัญในการลดปริมาณขยะ แต่เป็นเพียงครัวเรือนส่วนหนึ่งที่มีการคัดแยกเท่านั้นร้อยละ 10 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในตำบลนาหว้า

191.00
4 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนช่วยกันรักษาความสะอาด มีครัวเรือนที่ช่วยกันคัดแยกจำนวน 400 ครัวเรือน

400.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

การสร้างมาตรการการจัดการขยะที่ถูกต้องในชุมชนมีข้อกำหนดแต่เป็นการกำหนดของผู้นำชุมชนและเป็นการใช้ข้อบังคับของกฎหมาย แต่การวางมาตรการร่วมกันยังไม่เกิดขึ้น

9.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.) 600 ก.ก.

1200.00 600.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน) 1,000 ครัวเรือน

400.00 1000.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

191.00 300.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง) จำนวน 9 แห่ง แต่ให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ชุมชนวางมาตรการร่วมกัน

9.00 9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 255
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 567
กลุ่มวัยทำงาน 837
กลุ่มผู้สูงอายุ 167
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่จำนวน 5 หมู่บ้าน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2563 ถึง 17 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้คณะทำงานของโครงการที่มีความหลากหลายทั้ง 5 หมู่บ้าน 2.ได้แผนงานดำเนินงานโครงการที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแก่คนในชุมชนแต่ละหมู่บ้าน โดยการเชิญตัวแทนแต่ละครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมอบรม และการจัดทำฐานสาธิตการคัดแยกขยะแต่ละประเภท การนำขยะไปใช้ประโยชน์ จำนวน 5 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจการคัดแยกขยะแต่ละประเภท 2.คนในชุมชนมีความตระหนักต่อประโยชน์ของขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านทุกหมู่ ช่วงเช้าและช่วงเย็นทุกวัน ให้ช่วยกันรักษาความสะอาด และการเดินรณรงค์ด้วยป้ายโฆษณาผ่านถนนในหมู่บ้าน การติดป้ายตามแยกต่างๆของหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชุมชนเกิดความตระหนักในการรักษาความสะอาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตามประเมินผลและการสร้างมาตรการของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินผลและการสร้างมาตรการของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดเวทีสรุปบทเรียน เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานการจัดการขยะแต่ละหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน และร่วมกันสร้างมาตรการในการจัดการขยะในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานจัดการขยะ 2.ได้มาตรการร่วมกันในการจัดการขยะของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการจัดการขยะให้ถูกต้องและเหมาะสม สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้


>