กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดในโรงเรียน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดในโรงเรียน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

โรงพยาบาลส่เสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง

โรงเรียนวัดหัวกระสังข์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)

 

20.00
2 จำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน(คน)

 

50.00
3 จำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน(คน)

 

30.00
4 จำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ(คน)

 

10.00
5 อัตราการเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาของผู้เสพและผู้ติดทั้งภาครัฐและเอกชน(ร้อยละ)

 

10.00
6 จำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน(คน)

 

10.00
7 ร้อยละของการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน

 

50.00
8 จำนวนสถานที่ในชุมชนที่มีแหล่งจำหน่ายและสถานที่มั่วสุม(แห่ง)

 

10.00
9 กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน)

 

157.00
10 มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ)

 

0.00

ปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ รัฐบาลทุกสมัยมีนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเพื่อให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุขแต่ปัญหาดังกล่าวกลับมีแนวโน้มทวีความรุนแรง และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การใช้ยาเสพติดยังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทางด้านสาธารณสุขของชาติผลกระทบทางด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้นได้แก่สภาวะสุขภาพอนามัยที่ไม่ดี โรคทางกาย รวมถึงโรคทางจิต หรือแม้แต่การเสียชีวิตที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเสพติด บุคคลและสภาพการใช้สารนั้นๆ ในประเทศไทยพบว่าปัญหายาเสพติดมีการแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด ทุกกลุ่มอาชีพ
เด็กและเยาวชน เป็นเป้าหมายของขบวนการยาเสพติดเนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหาสร้างตัวตนสร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิต สามารถนำพาตนเองและบุคคลคนรอบข้างให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดได้ จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภัยจากสิ่งเสพติดในโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มเยาวชนในโรงเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีกับกลุ่มเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ

จำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

10.00 50.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

20.00 10.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน

จำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน ลดลงเหลือ(คน)

50.00 40.00
4 เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด

อัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดในชุมชนเป็นไปอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น(ร้อยละ)

10.00 30.00
5 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

157.00 200.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน

จำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน ลดลงเหลือ(คน)

30.00 20.00
7 เพื่อลดจำนวนสถานที่ในชุมชนที่มีแหล่งจำหน่ายและสถานที่มั่วสุม

จำนวนสถานที่ในชุมชนที่มีแหล่งจำหน่ายและสถานที่มั่วสุมลดลงเหลือ(แห่ง)

10.00 0.00

1. เพื่อให้กลุ่มเด็กวัยเรียนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. เพื่อให้สร้างเครือข่ายนักเรียนในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในสถานศึกษาและชุมชน
3.เพื่อให้กลุ่มเด็กวัยเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 117
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หลักสูตรอบรม จำนวน 1 วัน     1.หัวข้อบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง         1) การเรียนรู้เรื่องยาเสติด            จำนวน 1 ชั่วโมง         2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด            จำนวน 2 ชั่วโมง     2.หัวข้อการทำฐานความรู้  จำนวน 3 ชั่วโมง         1) ทักษะชีวิตกับการป้องกันภัยยาเสพติด          จำนวน  45  นาที         2) การสร้างอุดมการณ์ ต้านภัยยาเสพติด            จำนวน  45  นาที
        3) การดูแลเยียวยาช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด          จำนวน  45  นาที                4) ทักษะการปฏิเสธ ยาเสพติด                                   จำนวน  45

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียน/เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34676.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพื่อช่วยเพื่อนลดละเลิกยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพื่อช่วยเพื่อนลดละเลิกยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดตั้งกลุ่มของนกเรียนในดรคเรียน เพื่อเป็นเครื่อข่ายในการเเนะนำช่วยเหลือเพื่อนทั้งในดรคเรียนเเละชุมชนในการ ลด ละเลิกยาเสพติด พร้อมทั้งเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดในโรงเรียนเเละชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนในพื้นที่ไม่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,676.00 บาท

หมายเหตุ :
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านซ่อง จำนวน 34,676 บาท(สามหมื่นสี่พันหกร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้
1. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายจำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากรฐาน 4 ฐานๆละ 1 คนๆละ 400 บาท/ชั่วโมง จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,800 บาท3. ค่าเสื้อเครือข่ายนักเรียนป้องกันยาเสพติด จำนวน 117 ตัวๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน11,700 บาท
4. ค่าอาหารว่างและน้ำดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 117 คน2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,850 บาท
5. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 117 คนๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 8,775 บาท
6. ค่าวัสดุในการจัดอบรม
- ปากกาเคมี จำนวน24 ด้ามๆละ20 บาทเป็นเงิน 480 บาท
- กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 40 แผ่นๆละ8 บาท เป็นเงิน 320 บาท
8. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆละ 600 บาทเป็นเงิน 600บาท
9. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มการอบรมจำนวน 117 ชุด ชุดละ 3 บาท เป็นเงิน 351บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเด็กวัยเรียนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2.กลุ่มเด็กวัยเรียนสามารถเป็นเครือข่ายในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน
3.กลุ่มเด็กวัยเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
4. มีกลุ่มเครือข่ายนักเรียนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน


>