กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

กองทุนหลักประกันสุขภาพทต.บ้านพร้าว

ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545ซึ่งมิติที่สำคัญคือการสนับสนุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบล บ้านพร้าว การที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้จริงนั้น จะต้องมีการประสานการทำงานกับทุกฝ่ายทั้ง ภาคประชาชน ท้องถิ่น สาธารณสุข ตลอดจนมีการบูรณาการการทำงานเชิงนโยบายร่วมกัน โดยยึดพื้นที่และประชาชนเป็นศูนย์กลางในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ในระยะที่ผ่านมากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวก็สามารถดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงบริการสาธารณสุข โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคให้เกิดขึ้นจริงในชุมชน เพราะสาเหตุของการเกิดโรคส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งมิติทางสังคม ท้องถิ่นมีความใกล้ชิดและรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองได้ดี ท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการจัดการตามสภาพปัญหาของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งในทุกๆปีจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานสำหรับการวางแผน โดยใช้เครื่องมือชี้วัด โดยชุมชน หรือองค์กรในแง่มุมต่างๆ เพื่อสื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคลากรได้ทราบและสามารถดูความสำเร็จด้วยการวัดผลการปฏิบัติในปีที่ผ่านมาเพื่อตัดสินใจที่ถูกต้องในด้านปรับการทำงานเพื่อนำไปสู่การตั้งงบประมาณในแผนปฏิบัติงานและเพื่อช่วยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวนั้นเกิดผลสำเร็จ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และการจัดทำแผนปฏิบัติงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะปัญหาหนึ่งที่เราพบเห็นอยู่เสมอ คือเราไม่สามารถระบุได้ว่าแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการอยู่เป็นปกตินั้น สะท้อนหรือตอบสนองความต้องการประชาชนมากน้อยแค่ไหนมีความเชื่อมโยงกับเป้าประสงค์โดยรวมของชุมชน มีความคาดหวังหรือจุดหมายปลายทางที่เราตั้งไว้หรือไม่อย่างไรการจัดทำแผน ทำให้เราสามารถทราบว่าในอนาคตจะปรับปรุงกิจกรรม/โครงการอย่างไร ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับประชาชนในพื้นที่
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ ๒๕64 ขึ้น เพื่อเป็นการวางแผนนำกองทุนไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคตเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของกองทุนให้มุ่งไปสู่สถานการณ์อันพึงประสงค์ได้อย่างเท่าทันกันกับการเปลี่ยนแปลงเป็นการวางแผนในภาพรวมของกองทุนทุกโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้ได้ถึงความต้องการของประชาชนของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ได้อย่างดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นแนวทาง เครื่องมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กองทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 2. เพื่อให้การพัฒนาของกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายทราบว่าจะร่วมมือ เรื่องอะไร กับใคร ได้เมื่อใด 3. เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่อง พรบ. ระเบียบ ประกาศ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

1.  สามารถเป็นแนวทาง เครื่องมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กองทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 2.  ทำให้การพัฒนาของกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายทราบว่าจะร่วมมือ เรื่องอะไร  กับใคร  ได้เมื่อใด
3.  ทำให้คณะทำงานมีความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่อง พรบ.  ระเบียบ ประกาศ ตามคู่มือการปฏิบัติงานที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ ๒๕64

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ ๒๕64
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว     2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อประธานกองทุนฯ และประสานผู้ที่เกี่ยวช้อง     3.  จัดหาสถานที่ /วิทยากร/ฯลฯ     4.  ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และกลุ่มประชุมจัดทำแผนฯตลอดถึงนำเสนอกิจกรรม/โครงการ
    5.  ติดตามและประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  สามารถเป็นแนวทาง เครื่องมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กองทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล         2.  ทำให้การพัฒนาของกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายทราบว่าจะร่วมมือ เรื่องอะไร  กับใคร  ได้เมื่อใด
    3.  ทำให้คณะทำงานมีความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่อง พรบ.  ระเบียบ ประกาศ ตามคู่มือการปฏิบัติงานที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถเป็นแนวทาง เครื่องมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กองทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.ทำให้การพัฒนาของกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายทราบว่าจะร่วมมือ
เรื่องอะไรกับใครได้เมื่อใด
3.ทำให้คณะทำงานมีความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่อง พรบ.ระเบียบ ประกาศ ตามคู่มือการปฏิบัติงานที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


>