กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

ในพื้นที่ ม.1,2,3,8 และ 9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๒ จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 788 ราย เสียชีวิต จำนวน 1 ราย อัตราป่วย 150.11 ต่อประชากรแสนคน อัตราตาย 0.19 ต่อประชากรแสนคนอัตราป่วยตายร้อยละ 0.13 (ที่มา : กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 24 ก.ย. 2562) ในอำเภอป่าพะยอม พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 28 รายและตำบลบ้านพร้าวพบอัตราป่วย ๑๒๘.๘๒ ต่อแสนประชากร การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งขัน จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก สร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญและสร้างมาตรการทางสังคมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และเพื่อลดอัตราป่วยและไม่พบอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ - ร้อยละ 90 ของประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก

  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลดลง
  • ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์
  • เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเหลือไม่เกิน ๘๑.๑ ต่อ
      ประชากรแสนคน
60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8,995
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก     ๑.๑ กิจกรรมย่อยเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย
          โดยอาสาสมัครสาธารณสุข พร้อมให้ความรู้           ในพื้นที่ ม.1,2,3,8 และ 9 ๒. กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ๓. จัดหาครุภัณฑ์/เคมีภัณฑ์ งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   ๑๐๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ   เป็นเงิน 5000.- - ค่าอาหารกลางวัน   ๑๐๐ คน x ๕๐ บาท   เป็นเงิน  5000.- - ค่าสเปรย์กำจัดยุง   3๐ กระป๋อง x ๘๕ บาท  เป็นเงิน 2550.- - ค่าป้ายโครงการฯ  ๑x๓ เมตร   ๕ ป้าย x ๔๕๐ บาท   เป็นเงิน 2250.- ๒. กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย - ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ   ๑๕ ชุด x ๒๕๐ บาท  เป็นเงิน 3750.- ๓. จัดหาครุภัณฑ์/เคมีภัณฑ์ - ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย สูตรผสมน้ำ
  ๒,๘๐๐ บาท x ๒  ลิตร  เป็นเงิน  5600.- - ค่าเครื่องพ่นละอองฝอย
  1 เครื่อง x ๗๗,๐๐๐ บาท เป็นเงิน 77000.- รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น  101150.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ  ในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย     ๒. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย     ๓. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
    ๔. ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
101150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 101,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
๒. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
๓. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
๔. ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก


>