กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสานพลังชุมชนปอดใสไร้ควันบุหรี่ สู่ชุมชนบุดีน่าอยู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมผู้นำตำบลบุดี

พื้นที่ตำบลบุดี 8 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อิสลามเป็นระบอบการดำเนินชีวิตที่มุ่งปลูกสร้างจิตสำนึกให้มนุษย์รักความสงบ สันติ และรักษาความปลอดภัยให้กับตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม แนะนำมนุษย์ให้เลือกบริโภคแต่เฉพาะอาหารที่ดีมีประโยชน์ ห้ามนำตัวเองสู่ความหายนะ ห้ามดื่มสุรา และสิ่งมึนเมา ห้ามบริโภคเนื้อสุกร เลือด และซากสัตว์ตายโดยมิได้ผ่านการเชือดอย่างถูกวิธีดังปรากฏเป็นโองการในคัมภีร์อัลกุรอานและในซุนนะของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม) ได้บัญญัติถึงสิ่งเหล่านี้ไว้โดยตรง แต่กรณีของ “บุหรี่” หรือ “ยาสูบ” แม้จะเป็นสิ่งบริโภคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ปรากฏโองการใดในคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม)อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่ของจังหวัดยะลาจะต่ำกว่าในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 12 แต่ก็ยังสูงกว่าระดับประเทศและสถานที่สาธารณะที่พบเห็นการสูบบุหรี่ มากที่สุด คือ ตลาดสดหรือตลาดนัด ร้อยละ 89.0 รองลงมา คือ ร้านอาหาร/ภัตตาคาร สถานีขนส่งสาธารณะศาสนสถานอาคารสถานที่ราชการสถานบริการสาธารณสุขสถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และอาคารมหาวิทยาลัยร้อยละ 81.2, 65.6, 49.9, 34.9, 21.8, 23.3 และ17.1 ตามลำดับ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยะลา ยังคงมีการสูบบุหรี่จำนวนมากอาจเนื่องมาจากวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมตามชนบทการสูบบุหรี่โดยเฉพาะสูบใบจากเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในชนบท (วัฒนธรรมใบจาก)เนื่องจากเด็กๆ เกิดมาก็เห็นพ่อ ญาติ พี่น้องสูบบุหรี่ หรือแม้กระทั่งไปซื้อของร้านน้ำชา ก็มีควันบุหรี่ฟุ้งกระจายไปทั้งร้าน ทำให้เกิดการเลียนแบบผู้ใหญ่ โดยเริ่มแรกหัดสูบใบจากโดยไม่มียาเส้น หลังจากนั้นมีการม้วนยาเส้นเข้าด้วยกันและค่อยๆ พัฒนาเป็นการสูบบุหรี่โรงงานซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามการสูบบุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้สูบและบุคคลใกล้ชิด (นายสวัสดิ์สุมาลยศักดิ์อดีตจุฬาราชมนตรี, 2549 ) จากสภาพปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วนั้นทางชมรมผู้นำตำบลบุดี ได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา ประกอบกับหลักศาสนาที่ยังเข้าใจกันไม่ถูกต้องจึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวและคนรอบข้างได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการสูบบุหรี่และร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

มีความความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักถึงการสูบบุหรี่

0.00
2 เพื่อสร้าง/ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการสูบหรี่ในมัสยิด และชุมชน

ในชุมชนมีเครือข่ายเฝ้าระวัง

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเพิ่มของกลุ่มเสี่ยงหรือนักสูบ หน้าใหม่

 

0.00
4 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ และการจัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ "มัสยิดปลอดควัน คนปลอดภัย"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ "มัสยิดปลอดควัน คนปลอดภัย"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลรณรงค์ จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ป้ายโฟมบอดรณรงค์ จำนวน 15 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ป้ายโฟมบอดกฏการปฏิบัติตนในสถานที่สาธารณะ จำนวน 15 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ป้ายโฟมบอดงดสูบบุหรี่ จำนวน 15 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • สติกเกอร์งดสูบบุหรี่ จำนวน 200 แผ่นๆละ ...... เป็นเงิน........ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างฐานความรู้ความเข้าใจ "อบรมเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการ ในการ ลด ละ เลิกบุหรี่"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างฐานความรู้ความเข้าใจ "อบรมเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการ ในการ ลด ละ เลิกบุหรี่"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารกลางวัน 200 x 75 เป็นเงิน 15,000 บาท
  • อาหารว่าง 200 x 35 x 2 มื้อ เป็นเงิน 14,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 400 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถเห็นความสำคัญของพิษภัยจากการสูบบุหรี่ ผลกระทบและความสูญเสีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2. จะได้มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่มีความสมัครใจและสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่อง
3. จะได้เป็นตัวอย่างในการไม่สูบบุหรี่และสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่ในชุมชน
4. เกิดต้นแบบในการดำเนินงานจากชุมชน ที่สามารถเผยแพร่ได้
5. นำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่และการลงมือปฏิบัติปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี


>