กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

.....กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลหนองจิก

พื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

20.00
2 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

 

50.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเริ่มจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีจึงได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กปฐมวัย (แรกเกิด-72 เดือน) มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน ร้อยละ 70
จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็ก อายุ 0-72 เดือน ของเขตตำบลตุยง เมื่อเปรียบเทียบ 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2560 -2562 พบว่าเด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 10.15 , 13.35 , และ 16.31 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การดำเนินงานแก้ไขปัญหาโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโภชนาการ จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ และเพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ ในเด็ก0-5ปี

ร้อยละ 90 ของเด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

85.00 90.00
2 เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการสมส่วน

เด็กมีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการสมส่วนปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

65.00 70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้อสม.และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ

อสม.และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ ร้อยละ 70

65.00 80.00
4 เพื่อให้เด็กทีมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการติดตาม ดูแลโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ

เด็ก 0-5ปี ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตามและแก้ไขปัญหาร้อยละ 85

80.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตำบลตุยง แก่ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตำบลตุยง แก่ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 18 คน x 60 บาท  เป็นเงิน 1,080 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 18 คน x 35 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 1,260 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรม แผนงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-5 ปี ในชุมชน พร้อมบันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการบริการเชิงรุก ชั่งน้ำหนักเด็กในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเครือข่ายสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเครือข่ายสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 40 คน x 60 เป็นเงิน  2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 บาท x 35 คน x 2 มื้อ  เป็นเงิน  2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุกราย เดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุกราย เดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุกในพื้นที่ โดยจิตอาสา ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการชั่งน้ำหนักเดือนละครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตำบลตุยง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตำบลตุยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 18 คน x 60 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 18 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,260 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
2. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ลดลง
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการจัดอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับเด็ก


>