กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำสุขภาพต้นแบบสู่ชุมชนยั่งยืนและมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลสุคิริน

ศาลาหมู่บ้านหมู่ 4,7,9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2562ประชากรกลุ่มป่วยทั้งอำเภอจำนวน 2,378คนปี ๒๕62 พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 681 ราย ปี2562ตามข้อมูลที่รายงานส่งกระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วยเบาหวานสามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ร้อยละ 23.31 % ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำหากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ในอนาคต
การรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดันหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการ AIC มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส.
2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังได้รับรูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถเป็นต้นแบบแกนนำสู่ชุมชนได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครั้งที่ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 75 คน(08.00น.-12.00) - ค่าอาหารว่าง75 คน X 25บาทเป็นเงิน1,875 บาท 2.ค่าไวนิลป้ายโครงการ 1 แผ่นจำนวน500 บาท 3.แผ่นเคลือบ A 3 เพื่อเผยแพร่ในชุมชน 3 โรค 9 แผ่นx80 บาท เป็นเงิน 720 บาท 4. เครื่องวัดความดัน เครื่องราคา 3,200บาท x 3 เครื่อง รวมเงิน9,600 บาท 5. เครื่องเจาะน้ำตาล เครื่องราคา3,500บาท x 3 เครื่อง รวมเงิน10,500 บาท 6. เครื่องชั่งน้ำหนักomron ครื่องราคา1,650บาท x 3 เครื่อง รวมเงิน4,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กรกฎาคม 2563 ถึง 16 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังทำการทดลองจากแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมโดยวัดการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม20%
  2. ขยายเป้าหมายโดยเข้ารับการอบรมที่เป็นแกนนำสู่ชุมชน1: 1โดยการค้นหาและส่งชื่อผู้ทำการขยายผลการถ่ายทอดความรู้ในเป้าหมาย
  3. ประเมินสภาวะสุขภาพจากการคัดกรองความดันและค่า Dtxก่อนและหลังทำโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28145.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามกลุ่มเป้าหมาย และสรุปผล จำนวน 75 คน (08.00น.-12.00)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเป้าหมาย และสรุปผล จำนวน 75 คน (08.00น.-12.00)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 2. กิจกรรมติดตามกลุ่มเป้าหมาย และสรุปผล   จำนวน 75 คน  (08.00น.-12.00)                      - ค่าอาหารว่าง  75 คน X 25  บาท         เป็นเงิน       1,875   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2563 ถึง 6 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ขยายเป้าหมายโดยเข้ารับการอบรมที่เป็นแกนนำสู่ชุมชน  1: 1  โดยการค้นหาและส่งชื่อผู้ทำการขยายผลการถ่ายทอดความรู้ในเป้าหมาย
  2. ประเมินสภาวะสุขภาพจากการคัดกรองความดันและค่า Dtx  ก่อนและหลังทำโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีรูปแบบเฉพาะต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยโรคความดันและโรคเบาหวาน
ที่เกิดจากกระบวนการคิด วิเคราะห์จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ที่รู้และเข้าใจสภาพปัญหาเพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยั่ง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ กำหนด และเลือกวิธีการดูแลสุขภาพร่วมกับกลุ่ม


>