กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

โรงเรียนวัดเกษตรชลธี(เลื่อนประชาคาร)

โรงเรียนวัดเกษตรชลธี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียนเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดูสกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากเกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
รัฐบาลจึงได้มีนโยบายในการจัดการขยะมูลฝอย ผ่านกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียน ประกอบกับเจตนารมณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะ ที่มีความพยายามส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี โรงเรียนวัดเกษตรชลธี(เลื่อนประชาคาร)เป็นหน่วยงานในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการขอรับความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียน ครู บุคลากรเข้าร่วมโครงการ จำนวน ร้อยละ 100

0.00
2 2.เป็นโรงเรียนนำร่องของ อบต.เกี่ยวกับการกำจัดขยะ

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมในการกำจัดขยะร้อยละ 80

0.00
3 3.เป็นตัวอย่างและต้นแบบการกำจัดขยะแก่ชุมชน

ปริมาณขยะในบริเวณโรงเรียนลดลง ร้อยละ 50

0.00
4 4.ห้องเรียนและโรงเรียนปราศจากถังขยะ

โรงเรียน มีอุปกรณ์และสถานที่รองรับขยะเพียงพอ

0.00
5 5.ป้องกันโรคที่เกิดจากพิษขยะ เช่นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร

นักเรียนปลอดและปราศจากการเป็นโรคทางเดินอาหาร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School)

ชื่อกิจกรรม
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1.กิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะ โดยการจัดอบรม จัดทำป้ายนิเทศ แผ่นพับเผยแพร่ความรู้ แก่ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา และเดินรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน 2.กิจกรรมเสียงตามสายให้ความรู้แก่ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน 3.กิจกรรมแยกขยะจากห้องเรียน -ขยะกระดาษ -ขยะพลาสติก -ขยะทั่วไป -ขยะอันตราย 4.กิจกรรมการลด การใช้ซ้ำ และคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (๓Rs) 4.1กิจกรรมลดขยะอินทรีย์ ลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดการใช้ที่ฟุ้มเฟือย -กืจกรรมกินอาหารให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร -ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่ใช้งานและเปิดเฉพาะจุดที่ใช้ -ปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้งาน -กินอาหารให้หมดจาน -ไม่ใช้กล่องโฟม -หลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียว -ใช้ถุงผ้า 4.2กิจกรรมการใช้ซ้ำ -การใช้แก้วน้ำส่วนตัว -การใช้จานใส่อาหารแทนถุงพลาสติกและโฟม -การใช้กระดาษสองหน้า 4.3กิจกรรมคัดแยกและนำมาใช้ประโยชน์ -การคัดแยกขยะ -การนำขยะเปียกทำปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์สังเคราะห์ 5.ติดตามและประเมินผลกิจกรรม 6.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

กิจกรรม 1.เสนอโครงการและขออนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน 3.ประชุมวางแผนดำเนินการ กำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ 4.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุที่จำเป็น 5.อบรมให้ความรู้นักเรียน 100 คน เวลา 1 วัน

งบประมาณ -ค่าทำป้ายรณรงค์โรงเรียนปลอดขยะ ขนาด 80x150 จำนวน 2 ป้ายๆละ 250 บาทเป็นเงิน 500 บาท -ค่าจัดซื้อถังขยะเปียก จำนวน 4 ใบ -ค่าจัดซื้อตระแกรงเหล็กคัดแยกขยะ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 2 ใบๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท -ค่าอาหารนักเรียน 100x40 เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน 100x15x2 เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2.นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.โรงเรียนแบบอย่างในด้านการจัดการขยะแก่ชุมชนและบุคคลทั่วไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>