กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเตย 1 ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเตย 1 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองเตย ๑

๑. นางสาวดวงใจไชยมุณี
๒. นางสาวธิดารัตน์บุญอินโท
๓. นางยุพดีบุญทัศโร
๔. นางสาวประคอง บุญอินโท
๕. นางวงเดือนฉันอารี

ชุมชนบ้านคลองเตย 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นโรคที่เราเรียกว่า “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีการจัดการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งให้ดำเนินการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น
จาก การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ของชุมชนคลองเตย ๑ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๕๘๗คนในปี ๒๕๖๒กลุ่มเป้าหมายได้รับการ คัดกรองโรคเบาหวาน๓๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๙๒ผลการคัดกรองปกติ จำนวน ๒๓๘คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน
หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นโรคที่เราเรียกว่า “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีการจัดการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งให้ดำเนินการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น
จาก การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ของชุมชนคลองเตย ๑ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๕๘๗คนในปี ๒๕๖๒กลุ่มเป้าหมายได้รับการ คัดกรองโรคเบาหวาน๓๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๙๒ผลการคัดกรองปกติ จำนวน ๒๓๘คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๗๐กลุ่มสงสัยป่วย๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๙๔ กลุ่มป่วย ๔๒คน คิดเป็น ๗.๑๕และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๙๒ผลการคัดกรองปกติ๑๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๑๗ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง๗๕คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๐๕กลุ่มสงสัยป่วย ๑๕คนคิดเป็นร้อยละ ๔.๔๑ กลุ่มป่วย ๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๕ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนคอหงส์ ๕ ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ร้อยละ๗๕ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ ๖๕ มีการดื่มสุรา ร้อยละ ๔๓และสูบบุหรี่ ร้อยละ ๓๐ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาการแกงถุง อาหารนอกบ้าน และมีงานเทศกาลต่างๆ มากกมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย หรือดูแลตนเองไม่มีการคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมัน เกิดภาวะอ้วนลงพุงเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมา
จากข้อมูลดังกล่าว ของชุมชนคลองเตย ๑ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียด ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต และในกลุ่มที่ป่วยแล้วต้องมีการดำเนินการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเตย ๑ ปี ๒๕๖๓ ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ ๘๐ จำนวน ๕๐คน
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐ จำนวน ๕๐ คน

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๘๐
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ ๒๐ ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงในในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

๑. กลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลและติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม.ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม.ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ประชุมคณะกรรมการในการดำเนินงานจำนวน ๑ ครั้ง ประกอบด้วย อสม.กรรมการชุมชน กรรมการสปสช.
- ค่าอาหารว่าง๒๐คนx ๒๕ บาท x๑ มื้อ = ๕๐๐บาท
๑.๒อบรมฟื้นฟูความรู้ และเพิ่มสมรรถนะให้แก่ อสม.เพื่อเพิ่มทักษะในการดำเนินการติดตามและฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑ วัน
- ค่าอาหารว่าง ๑๗ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๘๕๐ บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ๑๗ คนx ๘๐ บาท x๑ มื้อ เป็นเงิน๑,๓๖๐ บาท
- ค่าเอกสารในการดำเนินงานจำนวน ๑๗ ชุดๆละ ๒๐บาท เป็นเงิน ๓๔๐บาท
- ค่ากระเป๋าผ้าใส่เอกสาร จำนวน ๑๗ ใบ ใบละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๘๕๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑ กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ
- แผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน ๕๐ ใบใบละ ๕ บาท เป็นเงิน ๒๕๐ บาท
๒.๒ กิจกรรมจัดหาครุภัณฑ์ในการดำเนินงาน
- ค่าครุภัณฑ์การแพทย์ ได้แก่
๑. เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน ๒ เครื่อง เครื่องละ ๒,๒๐๐ บาทเป็นเงิน ๔,๔๐๐ บาท
๒. เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน ๒ เครื่อง เครื่องละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท
๓. เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน ๑ เครื่อง ๖๐๐ บาท
๒.๓ กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน
- ค่าวัสดุ ได้แก่
๑.ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน ๖ กล่อง กล่องละ๘๐๐ บาท เป็นเงิน๔,๘๐๐ บาท
๒.ค่าเข็มเจาะเลือดจำนวน ๔ กล่องกล่องละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
๓. ค่าสำลีแห้ง ๓ ถุง ถุงละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๔๕๐ บาท
๔. ค่าตลับวัดรอบเอว ๔ ตลับ ตลับละ ๒๕๐บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๕. ค่าแอลกอฮอล์จำนวน ๒ ขวด ขวดละ๕๐ บาท เป็นเงิน ๑๐๐ บาท
๖. สมุดบันทึกการตรวจสุขภาพและบันทึกความรู้ ๓ อ. ๒ ส. จำนวน ๕๐ เล่ม เล่มละ ๓๐ บาท เป็นเงิน๑,๕๐๐ บาท
๗. ค่าวัสดุ (ถุงผ้าใส่เอกสาร) จำนวน ๕๐ ถุง ถุงละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
๘. กล่องใส่อุปกรณ์ จำนวน ๒ กล่อง กล่องละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐บาท
๒.๔ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (๓ อ. ๒ ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ คนๆละ ๘๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๒ คนๆละ ๓ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท
- ค่าไวนิลโครงการฯ ขนาด ๒ x ๓ เมตรจำนวน ๑ ผืน ตารางเมตรละ ๑๕๐ เป็นเงิน ๙๐๐ บาท
๒.๕ กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเสี่ยงมาติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้งๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39850.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑ ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน
- ค่าอาหารว่าง  ๒๐  คนx ๒๕ บาท x ๑ มื้อ    เป็นเงิน ๕๐๐ บาท
๓.๒ จัดทำเอกสารส่ง สปสช.
- ค่าเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน  จำนวน ๒ ชุด  ชุดละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>