กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคอหงส์ 1 ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคอหงส์ 1 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

อสม.ชุมชนบ้านคอหงส์ 1

๑. นางสาวกัญดา ติ้งเพ็ง
๒. นางณัฐพรบัวแก้ว
๓. นางสาวนนทยานฤพงษ์
๔. นางสาวพนิตนารถอ่อนด้วง
๕. นางพินิตก่อเกิด

ชุมชนบ้าน คอหงส์ 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นโรคที่เราเรียกว่า “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีการจัดการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งให้ดำเนินการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น
จาก การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ของชุมชนคอหงส์ ๑ ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๒๑๖คนในปี ๒๕๖๒กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ๑๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๗ ผลการคัดกรองปกติ จำนวน ๖๘คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๔๐อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน๕๐คนคิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ กลุ่มสงสัยป่วย ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๖๐กลุ่มป่วย ๑๒คน คิดเป็น ๕.๕๕และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๒๕คน ผลการคัดกรองปกติ๖๓คนคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๔๐ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง๕๒คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐กลุ่มสงสัยป่วย ๑๐คนคิดเป็นร้อยละ ๘กลุ่มป่วย ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๘๗ ตามลำดับจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนคอหงส์ ๕ ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ร้อยละ๖๐ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ ๕๘มีการดื่มสุรา ร้อยละ ๓๐และสูบบุหรี่ ร้อยละ ๒๕ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาการแกงถุง อาหารนอกบ้าน และมีงานเทศกาลต่างๆ มากกมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย หรือดูแลตนเองไม่มีการคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมัน เกิดภาวะอ้วนลงพุงเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมา
จากข้อมูลดังกล่าว ของชุมชนคอหงส์ ๑ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียด ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต และในกลุ่มที่ป่วยแล้วต้องมีการดำเนินการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคอหงส์ ๑ปี ๒๕๖๓ ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐ จำนวน ๕๐คน​
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐ จำนวน ๕๐ คน

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕๐
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ ๒๐ ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงในในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง
  1. กลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลและติดตาม
    ร้อยละ ๑๐๐
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม.ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม.ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ประชุมคณะกรรมการในการดำเนินงานจำนวน ๑ ครั้ง ประกอบด้วย อสม.กรรมการชุมชน กรรมการสปส
ค่าอาหารว่าง๒๐คนx ๒๕ บาท x๑ มื้อ = ๕๐๐ เป็นเงิน๕๐๐ บาท
๑.๒อบรมฟื้นฟูความรู้ และเพิ่มสมรรถนะให้แก่ อสม.เพื่อเพิ่มทักษะในการดำเนินการติดตามและฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑ วัน
- ค่าอาหารว่าง ๑๐ คนx ๒๕ บาท x๒ มื้อ เป็นเงิน๕๐๐ บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ๑๐ คนx ๘๐ บาท x๑ มื้อ เป็นเงิน๘๐๐ บาท
- ค่าเอกสารในการดำเนินงานจำนวน ๑๐ ชุดๆละ ๒๐บาท เป็นเงิน๒๐๐บาท
- ค่าวัสดุ (ถุงผ้าใส่เอกสาร) จำนวน ๑๐ ถุง ถุงละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑ กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ
- แผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน ๕๐ ใบใบละ ๕ บาท เป็นเงิน ๒๕๐ บาท
๒.๒ กิจกรรมจัดหาครุภัณฑ์ในการดำเนินงาน
- ค่าครุภัณฑ์การแพทย์ ได้แก่
๑. เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน ๒ เครื่อง เครื่องละ ๒,๒๐๐ บาทเป็นเงิน ๔,๔๐๐ บาท
๒. เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน ๒ เครื่อง เครื่องละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท
๓. เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน ๑ เครื่อง ๖๐๐ บาท
๒.๓ กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน
-ค่าวัสดุ ได้แก่
๑.ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน ๖ กล่อง กล่องละ๘๐๐ บาท เป็นเงิน๔,๘๐๐ บาท
๒.ค่าเข็มเจาะเลือดจำนวน ๔ กล่องกล่องละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๒๐๐ บาท
๓. ค่าสำลีแห้ง ๒ ถุง ถุงละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท
๔. ค่าตลับวัดรอบเอว ๔ ตลับ ตลับละ ๒๕๐บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๕. ค่าแอลกอฮอล์จำนวน ๒ ขวด ขวดละ๕๐ บาท เป็นเงิน ๑๐๐ บาท
๖. สมุดบันทึกการตรวจสุขภาพและบันทึกความรู้ ๓ อ. ๒ ส. จำนวน ๕๐ เล่ม เล่มละ ๓๐ บาท เป็นเงิน๑,๕๐๐ บาท
๗. ค่าวัสดุ (ถุงผ้าใส่เอกสาร) จำนวน ๕๐ ถุง ถุงละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
๘. กล่องใส่อุปกรณ์ จำนวน ๒ กล่อง กล่องละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐บาท
๒.๔ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (๓ อ. ๒ ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ คนๆละ ๘๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๒ คนๆละ ๓ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท
- ค่าไวนิลโครงการฯ ขนาด ๓ x ๒ เมตรจำนวน ๑ ผืน ตารางเมตรละ ๑๕๐ เป็นเงิน ๙๐๐ บาท
๒.๕ กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเสี่ยงมาติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้งๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน เป็นเงิน ๓,๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37900.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑ ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน
- ค่าอาหารว่าง๒๐คน x ๒๕ บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน๕๐๐ บาท ๓.๒จัดทำเอกสารส่ง สปสช.
- ค่าเอกสารสรุปผลการดำเนินงานจำนวน ๒ ชุดชุดละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>