กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักสุขภาพกินผักปลอดสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงเรียนบ้านไทรทอง

โรงเรียนบ้านไทรทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยโรงเรียนบ้านไทรทองมีความต้องการใช้ผักปลอดสารพิษในการปรุงอาหารกลางวันของนักเรียน จึงได้ทำกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักไล่แมลง เพื่่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดสารพิษ และแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของเด็ก รวมถึงเป็นการสร้างประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และความภาคภูมิใจแก่นักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และตระหนักในการเลือกบริโภคผักผลไม้

นักเรียนทุกชั้นร่วมกิจกรรมมีแปลงผักเป็นของตนเอง ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ

โรงเรียนใช้ผักของนักเรียนในการประกอบอาหารกลางวัน โดยอาหารกลางวันใช้ผักปลอดสารพิษร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกาย อารมณ์ และจิตใจ

ผู้ปกครอง นักเรียน รวมกลุ่มมีส่วนร่วมและ ให้การช่วยเหลือในการทำแปลงปลูกผัก เป็นการสร้างเสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ร่วมกัน ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ
ค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก หลากหลายชนิด เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 60 กระสอบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2400 บาท 3. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์การเกษตร เป็นเงิน7050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำผลผลิตพืชผักของนักเรียนมาปรุงอาหารกลางวันที่โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

กิจกรรมที่ 2 การรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การให้ความรู้ จัดทำสื่อ และรณรงค์ถึงการตระหนักในการเลือกรับประทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
ค่าใช้จ่าย 1.ค่าป้ายไวนิล  เป็นเงิน 500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  42 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1050 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลและพฤติกรรมการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
การติดตามผลและพฤติกรรมการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมสม่ำเสมอ และจัดให้มีเมนูผักในอาหารกลางวันทุกวัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีผลผลิตสำหรับปรุงอาหารกลางวันในโรงเรียนสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนและผู้ปกครอง คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคผักผลไม้ ส่งผลให้เด็กในชุมชนมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์และเด็กได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษทุกวัน


>