กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี ชีวีสูงอายุยั่งยืน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลตะเครียะ

1.นางสาวอาภรณ์ ไพศาล
2.นางเสาวนีย์ ห้องชู
3.นางอำนวย เซ่งเอียง
4.นายวินัย ชูเปีย
5.นางพรรณชินี บัวขวัญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างการมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เบียดเบียนสิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจจากการสำรวจผู้สูงอายุในเขต ตำบลตะเครียะ ในปีงบประมาณ 2562 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 816 คน เป็นผู้สูงอายุ ในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพการเช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ อุบัติเหตุ โรคเข่าเสื่อมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคสมองและหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภค และด้านอารมณ์ ให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจ กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ และการอยู่ร่วมในวังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยว
ด้วยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้เห็นถึงปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน และแนวทางในการแก้ไขมีความประสงค์จะจัดทำโครงการสุขภาพดีชีวีสูงอายุ ปีงบประมาณ 2563 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะเครียะ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง ร้อยละ 100

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

2.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยปีละ ครั้ง

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

3.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชมรมอย่างน้อยเดือนละครั้ง ร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสุขภาพดี ชีวีสูงอายุยั่งยืน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการสุขภาพดี ชีวีสูงอายุยั่งยืน ปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ 2.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 1000 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน จำนวนรุ่นละ 50 คน 3.ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมทุกคน 4.ชี้แจงแนวทางการดำเนินการชมรมผู้สูงอายุ 5.สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน เช่น สวดมนต์ การฝึกสมาธิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งเสริมความรู้ การออกกำลังกาย และกิจกรรมสันทนาการ ฯลฯ 6.สรุปผลและประเมินผลโครงการ

กิจกรรม 1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ 2.ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมทุกคน 3.ชี้แจงแนวทางการดำเนินการชมรมผู้สูงอายุ 4.สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน เช่น สวดมนต์ การฝึกสมาธิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งเสริมความรู้ การออกกำลังกาย และกิจกรรมสันทนาการ ฯลฯ

งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 25 บาท 2 มื้อ x 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท 3.คู่มือดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 100 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,00 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากรวันละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ 3.ผู้สูงอายุ สนใจเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง
2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
3.ผู้สูงอายุ สนใจเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง


>