กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควนปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางสุภา นวลดุก
นางวัชรี บินสอาด
นางสุพิชชา หมาดสกุล
นางนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
นางสาวโสภิตรา นารีเปน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความรู้ของผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เรื่องสุขาภิบาลอาหารและเกณฑ์มาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์

 

60.00
2 ร้อยละ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test)

 

62.50
3 ร้อยละร้านชำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00

หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ปัจจุบันร้านขายของชำเป็นแหล่งกระจายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่จับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัย เช่น ยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูง ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ซึ่งหากผู้บริโภคยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
จากข้อมูลร้านอาหารทั้งหมด 8 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 3 ร้านคิดเป็นร้อยละ 37.50 ,แผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 67 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 2 ร้านคิดเป็นร้อยละ 2.98 และร้านขายของชำทั้งหมด 48 ร้านไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จึงได้เล็งเห็นว่าการพัฒนา ยกระดับ และเฝ้าระวังร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้ประกอบการ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลง จึงได้จัดทำ "โครงการร้านชำ แผงลอย ร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใสใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควน" เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่บ้านควน มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปน มีการสำรวจเฝ้าระวัง ติดตามประเมินผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้รับการพัฒนายกระดับให้มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านอุปโภคและบริโภค ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนบ้านควนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ

ร้อยละความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ

60.00 85.00
2 เพื่อยกระดับ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test)

37.50 60.00
3 เฝ้าระวังความปลอดภัยจากสินค้าอุปโภค บริโภคที่ได้มาตรฐาน

ร้อยละของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐาน

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการ ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร จำนวน 80 คน โดยการอบรมให้ความรู้ การสาธิต การตรวจประเมินตามแบบประเมินมาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร การตรวจตัวอย่างอาหาร ตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิด คือสารเคมี วัตถุอันตราย เครื่องสำอางปลอม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน ผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 4 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการสำรวจ ขึ้นทะเบียน ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ด้านสุขาภิบาลอาหารได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน
2.ให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร โดยคณะกรรมการจำนวน 12 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน และตัวแทน อสม. 10 คน และตรวจติดตามทางกายภาพหมู่ละ 3 ครั้ง รวมเป็นจำนวน 15 ครั้ง
3.ประชุมสรุปผลการออกตรวจประเมินและการให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 15 ครั้ง

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 12 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 15 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
  2. ร้านชำได้รับการตรวจตามเกณฑ์ มีสินค้าอุปโภค บริโภค ได้มาตรฐานร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุม/ออกนิเทศ ตรวจประเมินได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/ออกนิเทศ ตรวจประเมินได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมรับการออกนิเทศ/ตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล โดยการตรวจทางกายภาพและทางเคมี ด้วยน้ำยาตรวจอาหาร SI2 โดยคณะกรรมการจำนวน 9 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน ,สสจ.สตูล 2 คน และตัวแทน อสม. 5 คน
2.ติดตาม สรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงาน
3.ประชุมออกนิเทศ ตรวจประเมิน สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ของ สสจ.สตูลและคณะกรรมการ จำนวน 9 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 5 ครั้ง เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการประเมินจาก สสจ.สตูล
  2. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
  3. ร้านชำได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานร้านขำ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,อสม. 11 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน เพื่อสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงานตามโครงการ
2.สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามโครงการ
2.หาแนวทางแก้ไขตามปัญหา/อุปสรรค เพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,525.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85
2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
3. ร้อยละ 100 ของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ


>