กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

ชมรมแอโรบิคบ้านปากบางตะเครียะ

1.นางขวัญตา ขุททกพันธ์
2.นางวันดี คำไพ
3.นางสุคนธ์ เกษเหมือน
4.นางปรมาภรณ์ พูลเกิด
5.นางอุทัยวรรณ รัตนภิรมย์

วัดวารีปาโมกข์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการดำรงชีวิตของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวิถีชีวิตดั้งเดิมจากอดีตมาก ผู้คนส่วนมากชอบความสะดวกสบาย โดยเฉพาะอาหารการกินและขาดการออกกำลังกาย บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปรงอิริยาบถในชีวิติประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจจะประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเครียด และโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องอื่นๆ การสร้างสุขภาพ ระบบสุขภาพ ของคนในยุคปัจจุบัน ต้องเน้นการ “สร้าง” สุขภาพ มากกว่าการ “ซ่อม” สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นการสร้างระบบสุขภาพในเชิงรุก และเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ โรคพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ และค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ.เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโยคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน นั้น
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรค ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกโรงเรียน ให้มีการเต้นแอโรบิค ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของทุกเพศทุกวัย การสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชน ที่จะร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชน คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งการเต้นแอโรบิค เป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน ทำให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนกันได้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแส ให้ประชาชนตระหนัก เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค อย่างต่อเนื่อง
เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ความตื่นตัวในการออกกำลังกาย ความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกาย ชมรมแอโรบิคบ้านครองโพธิ์จึงได้ จัดทำโครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปราถนา ก่อให้เกินเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพ และส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีสืบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ตรวจดัชนีมวลกาย ก่อน – หลัง ทุกๆ 3 เดือน MBI น้ำหนัก

0.00
2 2.เพื่อลดภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

-จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

-จำนวนผู้ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

0.00
4 4.เพื่อให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

-ก่อให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทางด้านสุขภาพ

0.00
5 5.เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนเอง

-มีบุคคลต้นแบบด้านงานสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/11/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1.ประชุมเพื่อวางแผน 2.เสนอโครงการฯ เพื่อขอนุมัติ 3.ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วม 4.ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม 5.จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ 6.จัดกิจกรรมการออกกำลังกายโดยวิธีแอโรบิคทุกวัน เวลา 17.00 – 18.00 น. 7.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ กิจกรรม 1.การเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ   1.1เต้นแอโรบิค 2.การจัดฝึกอบรมโครงการฯ   2.1จัดฝึกอบรม 3.จัดซื้อเครื่องเสียง

งบประมาณ -ค่าตอบแทนเดือนละ 3,600 บาท x 10 เดือน = 36,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวม 1,200 บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน 30 คนๆละ 25 บาท = 750 บาท -ค่าจัดซื้อเครื่องเสียง 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความสนใจและประโยชน์ในการออกกำลังกาย 4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดความสามัคคี 5.เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความสนใจและประโยชน์ในการออกกำลังกาย
4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดความสามัคคี
5.เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่


>