กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา บ้านลูโบ๊ะการันยี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา บ้านลูโบ๊ะการันยี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มเกษตรทำสวนยางพาราบ้านลูโบ๊ะการันยี

1.นายอับดุลรอเช็ค ยาติกุล
2.นายเจ๊ะนัยการังงัน
3.นายมีดานยาโกบ
4.นายสุไรมานดำท่าคลอง
5.นายมหาหมัดอิหมำหมาด

หมู่ที่ 7 บ้านลูโบ๊ะการันยี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00

แรงงานนอกระบบ (Informal Workers) ตามความหมายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) หมายถึง แรงงานที่อยู่ในการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (informal sector) ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจการขนาดเล็ก ตั้งได้ง่าย มีลักษณะเป็นธุรกิจในครัวเรือน มักใช้วัตถุดิบในประเทศมีการใช้แรงงานเป็นหลัก และมีการดัดแปลงเทคโนโลยีง่ายๆ มาใช้ เป็นแรงงานอิสระที่ทำกิจกรรมเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บขยะ คนเก็บเศษกระดาษและโลหะ
แรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลบ้านควน ประกอบด้วย เกษตรกรชาวสวนยางพารา เกษตรกรทำนา อาชีพรับจ้างทั่วไปอาชีพค้าขาย เป็นต้น โดยกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ถือเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลบ้านควน
กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพารางบ้านลูโบ๊ะบาตูจึงทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา บ้านลูโบ๊ะการันยี เพื่อมุ่งหวังในการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อลดอาการเจ็บจากการทำงานเช่น ปวดเมื่อย ปวดเข่า ปวดหลัง พักผ่อนน้อย เป็นต้น และคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดด้วยเนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะมีทำนาและปลูกผักร่วมด้วยในช่วงที่ว่างจากการกรีดยางพารา โดย คัดกรองจากกระดาษทดสอบโคลีนเอสเคอเรส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 3.00
3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากการทำงานให้กับกลุ่ม อาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา

ร้อยละ ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา

20.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) จำนวน 1 ครั้ง และศึกษาเครื่องมือในการสำรวจ
- ค่าอาหารกลางวัน(1 มื้อ) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(2 มื้อ)ในการจัดอบรม (อส.อช.) และวิทยากร จำนวน 20 คนๆละ100 บาทเป็นเงิน 2,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลุ่ม อส.อช. ในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรชาวสวนยางพารา แรงงานนอกระบบ จำนวน 40 คน ได้รับการสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 2 อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง(google form) จำนวน 40 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2.สรุปผลการสำรวจข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงจำนวน 40 คนได้รับการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กำหนดกติการร่วมกันและอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
กำหนดกติการร่วมกันและอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงของในการทำงานจำนวน 1 วัน
- ทำแบบประเมินก่อนการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างกติการร่วมกันเพื่อเป็นข้อกำหนดของกลุ่มในการลดความเสี่ยง
2.คัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา(กรณีพบกลุ่มเป้าหมายมีสารตกค้าง ส่งต่อไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลสตูล )
- ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 100 คน เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมหรือค่าจ้างในการทำสื่อการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
- ชุดทดสอบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวนชุดทดสอบ 1ชุด * 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรมแรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 40 คน และสร้างอาสาสมัครอาชีวอนามัยในกลุ่มได้ อย่างน้อย 5 คน
เกิดมาตรการป้องกันร่วมกันในการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลหลังจากกิจกรรมที่ 3 ประมาณ 3 เดือน เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากแบบประเมินรายบุคคล
2. ประชุมถอดบทเรียนในทีมงาน อส.อช. และตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
-ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม(2 มื้อ) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน30 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามประเมินผล ทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากการทำงานและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น
2. อาสาสมัคร อส.อช. สามารถนำกระบวนการและมีบทบาทในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน


>