กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของคนไทยโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ส่วนมากจะเกิดในสตรีมากกว่าบุรุษเนื่องจากอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีมีความซับซ้อนมากกว่าบุรุษมะเร็ง ปากมดลูกพบมากในกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของสตรีไทย ซึ่งส่งผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัว รองลงมา คือ มะเร็งเต้านมซึ่งโรคมะเร็ง ทั้ง 2 ชนิด เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่
จากสถิติที่ผ่านมาของกลุ่มเป้าหมาย สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60ปี ของพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกูมุง พบว่าหญิงวัยเจริญพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย อายุ30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ9.71 ซึ่งไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ เกณฑ์ชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ต้องได้ร้อยละ20ขึ้นไปเนื่องจาก ไม่มีการให้ข้อมูลความรู้ตลอดจนการสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง ประกอบกับความไม่ตระหนักต่อสุขภาพของตนเองของหญิงวัยเจริญพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย อายุ30 – 60 ปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกูมุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ที่นับว่าเป็นปัญหาที่มีต่อสุขภาพของสตรีในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกให้ได้รับการคัดกรองตรวจวินิจฉัยและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอีกทั้งยังสามารถให้การบำบัดรักษา ตามมาตรฐานได้รับการติดตามอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำ โครงการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2563ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมอนามัยของประชากรสตรีในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันตนเองจาก โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
3.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการรับบริการตรวจค้นหา มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/07/2020

กำหนดเสร็จ 15/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับอสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 – 60 ปีเพื่อให้ความรู้และทำหนังสือเชิญกลุ่ม เป้าหมาย ให้มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก 3. ขอความร่วมมือผู้นำชุมชนในการประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ 4. จัดเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ในการอบรม และการเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. ให้ความรู้แก่ตัวแทนสตรีหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปีในเขตรับผิดชอบ 2. จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมให้กับกลุ่ม เป้าหมาย 3. แจ้งผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ทราบผลการตรวจ 4. ให้การรักษาเบื้องต้นและส่งต่อในรายที่ตรวจพบความผิดปกติ งบประมาณ -ค่าน้ำมันรถในการลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจคัดกรองและประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 15 ครั้งx 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
-ค่าชุดแผ่นสไลด์ 10 ชุดx 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -ค่าน้ำยาแช่สไลด์ (แอลกอฮอล์ 95%) ลิตรละ 200 บาทx 11 ลิตร เป็นเงิน 2,200 บาท -ค่าเอี้ยมพลาสติกหนาตัวละ 250 บาทx 14 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง ร้อยละ 90 2.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง   ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชากรสตรีมีความรู้ที่ถูกต้องตลอดจนมีพฤติกรรมการดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
2. สตรีอายุ30 – 60 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
3. สตรีอายุอายุ 30 – 60 ปีมีความรู้ความสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน ร้อยละ 90
4. ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายระยะเริ่มแรก
5. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมาตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างสม่ำเสมอ ทุก 5 ปี


>