กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตามติดประชากลุ่มเสี่ยง ลดหวาน มัน เค็มเพิ่มผักผลไม้ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

-

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้นดังนั้นด้วยสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้น
จากสถิติการดำเนินงานที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหาอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร้อยละ85.0793.14และ92.93ตามลำดับ พบประชากรกลุ่มป่วยรายใหม่เบาหวานจากกลุ่มเสี่ยงร้อยละ5.661.56และ1.94 ตามลำดับพบประชากรกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงร้อยละ2.552.72และ6.84 ตามลำดับร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีร้อยละ19.91 48.83 48.17 ตามลำดับและร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานได้ดีร้อยละ10 25.4 33.2 ตามลำดับดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา จึงได้จัดทำโครงการ ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพตามหลักสุขภาพ 3 อ.2 ส. 2. รณรงค์สร้างกระแสการตรวจสุขภาพต่อเนื่อง

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90
2.อัตรากลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้านร้อยละ30

48.00 48.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน7วัน

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน7วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานการปฏิบัติตัวตามหลัก 3อ.2ส.กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อ
และดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงอายุ35ปีขึ้นไปและคัดแยกกลุ่มดีกลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยป่วยนัดกกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจติดตามซ้ำและอธิบายการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน7วัน

งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 23,400 บาท (สองหมื่นสามพันสี่ร้อยบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน 48 คนx50 บาทx 1มือเป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม 48 คนx25 บาทx 2มือเป็นเงิน 2,400 บาท - สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องวัดความดัน 6 เครื่อง*2,500 บาท เป็นเงิน15,000 บาท - ค่าวิทยากร 600บาท x6ชม. เป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้านร้อยละ30 (คิดเป็นจำนวน48 คนจากกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการคัดกรองจำนวน 163 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานการปฏิบัติตัวตามหลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานการปฏิบัติตัวตามหลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน
๒. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในเรื่อง อาหารอารมณ์ออกกำลังกายบุหรี่และสุรา
๓. กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไปได้


>