กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

1.นางฮาบีเบาะ มะมิงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
2.นางรอมือละจินตราอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
3.นางคอรีเยาะ แดวอสนุงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
4.นางซัยตีมะโซะปนแออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
5.นางแวนะสือรีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา2หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่1,2,3,6,9ตำบลยะหาอำเภอยะหา3หมู่ที่ 6 บ้านอาเส็น

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็ฯสิ่งที่เรียนกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็ฯสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และได้ใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็ฯเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลังๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมาก และแทบจะไม่รู้จักเลยทั้งๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ๆ ตัวเรานี้เอง
ดังนั้น ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา อำเภอยะหา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน การจัดทำสมุนไพรในชุมชนขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสมุนไพรไทยไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น

1ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้

100.00 80.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ/ผู้นำ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้

ร้อยละ50ของครัวเรือน มีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย 3 ชนิด

100.00 50.00
3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่น

มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. 69
แกนนำ/ผู้นำ 31

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 25/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมในการใช้สมุนไพรในครัวเรือน แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ /ผู้นำ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมในการใช้สมุนไพรในครัวเรือน แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ /ผู้นำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-การใช้สมุนไพรในการดูแลตัวเอง
-ส่งเสริการใช้ยาสมุนไพรในครัวเรื่อน
-ปัจจัยทีมีผลต่อการใช้ยาสมุนไพร
-การเฝ้าระวังการใช้ยาสมุนไพร รายละเอียดงบประมาณ จัดอบรม 1 วัน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน × 25บาท× 2 มื้อเป็นเงิน5,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 100 คน × 50บาท× 1 มื้อเป็นเงิน5,000 บาท
-ค่าวิทยากร 600 บาท/ชม. X 3 ชม.เป็นเงิน1,800 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการทำขี้ผึงพญายอ เป็นเงิน2,000 บาท
- ค่าทำสวนสมุนไพรสาธิต เป็นเงิน7,100 บาท ต้นตะไคร้ 250 ต้นx ต้นละ 2 บาท เป็นเงิน 500 บาท ต้นไฟล60 ก.ก X กิโลกรับละ 20 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท ต้นพยายอม 60 ก.ก X กิโลกรับละ 20 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท ขมิ้นชั้น 60 ก.ก X กิโลกรับละ 20 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท ขิง 10 ก.ก X กิโลกรับละ 300 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น20,900 บาท(เงินสองหมื่นเก้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 29 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น 2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ/ผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ 3 รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่นอย่างน้อยครัวเรือนละ 3 ชนิด 4มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น
2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ/ผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้
3 รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่นอย่างน้อยครัวเรือนละ 3 ชนิด
4มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง


>