กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ห่วงใย ใส่ใจ ผู้สูงอายุและผู้พิการปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบาโงยซิแน

1. นางกุสุมา สะแต
2. นายฮามะ แวดูยี
3. นายแวมามุ ตาเห
4.นางปัทมา ศรีแสง
5.นายดอรอแม คาเร็ง

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” เน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชนสู่สังคมที่มีคุณภาพ ประกอบกับนโยบายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนว่าให้มีการดูแลสุขภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์ให้คลอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเสริมสร้างสุขภาพ ด้านการป้องกันโรค ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่อง โดยเน้นด้านสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจตระหนักที่จะดูแลสุขภาพของตนเองร่วมด้วย

ความพิการ เป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรง ชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับการบาดเจ็บในกระบวนฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการจัดหาและการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยผู้พิการ และบริการที่สนับสนุนการดำรงชีวิต การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือการเสริมสร้างความสามารถของผู้พิการ แต่ในทางปฏิบัติผู้พิการยังไม่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและยังไม่ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพทุกด้านอย่างจริงจังจากภาครัฐและสังคม ถึงแม้ภาครัฐจะมีโครงการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ แต่บางครั้งอาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้พิการอย่างแท้จริง จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่แท้จริงของผู้พิการ ผู้พิการบางคนอยู่ห่างไกล มีฐานะยากจน ขาดผู้ดูแล เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยบริบทของพื้นที่เป็นสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างรายวัน แบบไปเช้า เย็นกลับ ช่วงกลางวันจะมีแต่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่บ้านเพียงลำพัง ความพิการได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน คือ ผู้พิการไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เองทั้งหมด ทำให้ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงญาติ หรือมารดาที่เป็นผู้สูงวัย บางคนต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียวในตอนกลางวัน โดยญาติเตรียมหาอาหาร ข้าวของเครื่องใช้วางไว้ใกล้ๆ ที่สามารถหยิบเองได้ การเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพมีจำกัด ประกอบกับฐานะยากจน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ถ้าเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็จะรักษากันเอง ผู้พิการส่วนใหญ่ขาดการฟื้นฟูด้านจิตใจ การได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านจากเครือข่ายสุขภาพชุมชน ถือเป็นความห่วงใยในคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสขาดผู้ดูแล และสภาพของผู้พิการบางรายเป็นผู้พิการติดเตียงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลา และการดูแลช่วยเหลือจากชุมชน ถือเป็นกระบวนการส่งเสริมสุขภาพใจผู้พิการที่ยั่งยืนวิธีหนึ่ง

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 หมู่บ้าน มีผู้พิการจากการสำรวจ 103 คน ผู้สูงอายุ 676 คนมีผู้ป่วยติดเตียง 9 คน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพใจ ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องเป็นภาระกับครอบครัว ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ได้ดำเนินการสำรวจผู้พิการ ติดตามดูแลผู้พิการที่ไม่สามารถเข้ามารับการรักษาพยาบาลโดยการเยี่ยมบ้าน แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะความร่วมมือจากครอบครัว และชุมชน

ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และแกนนำชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ห่วงใย ใส่ใจ ผู้สูงอายุและผู้พิการปี 2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ และผู้พิการได้รับการตรวจและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุ และผู้พิการได้รับการตรวจ และดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 90

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 676
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 103
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำผู้ดูแล และผู้สูงอายุ 160

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสค) ผู้ดูแลผู้พิการ แกนนำอาสาสมัคร สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสค) ผู้ดูแลผู้พิการ แกนนำอาสาสมัคร สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสค) ผู้ดูแลผู้พิการ แกนนำอาสาสมัคร สาธารณสุข จำนวน 80 คน
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 80 คน x 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 80 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 8,000 บาท (เช่น สมุดบันทึก กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร ปากกา ดินสอ กระดาษ เป็นต้น)
รวม 20,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีเข้ารับการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสค) ผู้ดูแลผู้พิการ แกนนำอาสาสมัคร สาธารณสุข จำนวน 80 คน
2 ผู้สูงอายุ และผู้พิการได้รับการตรวจ และดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 90
3 แกนนำผู้สูงอายุผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อสค) ผู้ดูแลผู้พิการ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ในการดูแล ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

กิจกรรมที่ 2 การเยี่ยม และสร้างขวัญกำลังใจ แก่ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
การเยี่ยม และสร้างขวัญกำลังใจ แก่ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การเยี่ยมสร้างขวัญกำลังใจ แก่ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ โดยเจ้าหน้าที่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ อสม. โดยออกเยี่ยมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้พิการ
    ค่าใช้จ่าย
    -ค่าตอบแทนแกนนำ ในการติดตามเยี่ยมสร้างขวัญกำลังใจ และตรวจสุขภาพ วันละ 200 บาท * 4 คน * 18 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ และผู้พิการได้รับการเยี่ยมสร้างขวัญกำลังใจ และ ตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
2. ผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม
3. ผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
4. ผู้ดูแลผู้พิการ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้พิการมากขึ้น


>