กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนหมู่ 3 ตำบลโสร่ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

นางสาวนูซานา ปะกียา
ผศ.รอมสรรค์ เศะ
นายมูฮำหมัดอามีน หะยีหามะ
นายสุวิทย์ หมาดอะดำ
นางรอชีดะห์ หะนะกาแม
นางสาวฮุสนียะห์ สาและ

หมู่ 3 ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตรวจพบจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารในอาหารที่ผลิตจากร้านของอาหารในชุมชน

 

20.00

จากการให้นักศึกษาในรายวิชาจุลชีววิทยาในอาหารได้สุ่มซื้ออาหารในร้านอาหารบริเวณหมู่ 3 จำนวน 6 ร้าน พบเจอจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารที่สุ่มตามร้านอาหาร เช่น Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus ในอาหารที่สุ่มซื้อมาตรวจ 75% และจากการสังเกตด้วยตาเปล่า พบว่าร้านอาหาร 80% มีการจัดการร้านอาหารไม่ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานร้านอาหารทั้ง 15 ข้อ ด้วยเหตนี้ทางรายวิชาจึงได้แจ้งข้อมูลไปยัง รพสต.เขาตูมเพื่อตรวจสอบและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของร้านอาหาร จึงได้ทำงานร่วมกันกับ รพสต.เขาตูม ในการช่วยสังเกตและสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณลักษณะของร้านอาหาร และพัฒนาร้านที่สนใจจะพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัย นอกจากนี้ยังต้องการสื่อสารกับนักศึกษาซึ่งเป็นลูกค้าโดยส่วนใหญ่ของร้านอาหารเหล่านี้เพื่อให้ความรู้และติดตามสุขลักษณะของร้านอาหารตลอดโครงการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขลักษณสำหรับการจัดการร้านอาหารให้กับร้านอาหารในหมู่ 3 ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

มีร้านอาหารผ่านมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัยเพิ่มขึ้น 10% ของร้านทั้งหมด

75.00 10.00
2 เพื่อสื่อสารกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฟาฏอนีเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหาร

นักศึกษาเกิดความเข้าใจเรื่องสุขลักษณะในการเลือกบริโภคอาหาร

35.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านอาหาร 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สุ่มตรวจการปฏิบัติตามคุณลักษณะของร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
สุ่มตรวจการปฏิบัติตามคุณลักษณะของร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มตรวจการปฏิบัติตามคุณลักษณะของร้านอาหารในหมู่ 3 ตำบลเขาตูม ซึ่งจะใช้การสังเกตด้วยตาเปล่า และสุ่มตัวอย่างอาหารไปตรจจุลินทรีย์ปนเปื้อน งบประมาณ ชุดตรวจ coliform SI-2 กล่องละ 950 บาท จำนวน 10 กล่องราคา 9500 บาท ค่าอาหารเที่ยงของผู้ตวรจ 3 คน ชุดละ 50 เป็นเวลา 3 วัน450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คะแนนประเมินสุขลักษณะของร้านอาหารแต่ละร้านและปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เชิงลึกกับร้านที่สนใจจะพัฒนามาตรฐานร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เชิงลึกกับร้านที่สนใจจะพัฒนามาตรฐานร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับร้านค้าโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสะอาดปลอดภัย และลงสำรวจร้านเพื่อให้ข้อมูลการปรับปรุงร้าน และตรวจสอบจุดที่ทำให้อาหารปนเปื้อนจุลินทรีย์ และลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ให้ได้มากที่สุด และติดตามการปรับปรุงของร้านค้าตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

งบประมาณ ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน คนละ 3 ชั่วโมง/วัน วันละ 400 บาท เป็นเวลา 3 วัน รวมเป็นเงิน 3600 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ไวนิล 1x3 =750 บาท ค่าอาหารผู้เข้าร่วม 20 คน คนละ 25 บาท = 500บาท 3 วัน รวม 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าเกิดความเข้าใจเชิงลึกเรื่องสุขลักษณะของร้านอาหารและได้รับการแนะนำปรับปรุงร้านอาหารจากผู้เชี่ยวชาญ และทราบต้นเหตของการที่ร้านไม่ผ่านมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัย
ผลตรวจสอบทางจุลชีววิทยาที่ลงตรวจความสะอาดของวัสดุและผู้สัมผัสอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัยและจุลินทรีย์ปนเปื้อนภายหลังจากที่ร้านได้ปรับปรุงตามคำแนะนำในกิจกรรมที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัยและจุลินทรีย์ปนเปื้อนภายหลังจากที่ร้านได้ปรับปรุงตามคำแนะนำในกิจกรรมที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ร้านเพื่อตรวจสอบสุขลักษณะของร้านอาหาร และเก็บตัวอย่างอาหาร วัสดุและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนจุลิทรีย์เพื่อประเมินการผ่านมาตรฐานของร้านอาหาร งบประมาณ
ค่าอาหารเที่ยงของผู้ตรวจ 3 คน คนละ 50 บาท เป็นเวลา 3 วันรวมเป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประเมินการผ่านมาตรญานอาหารสะอาดปลอดภัยของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้ผู้บริโภคที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาฏอนี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ผู้บริโภคที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาฏอนี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าของโครงการร่วมกับองค์การบริหารนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และชุมนุม food safety ของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดโครงการให้ความรู้เรื่องหลักเกณฑ์ในการเลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย และชี้แจงรายชื่อร้านอาหารที่ผ่านมาตรฐานร้านอาหารสะอาดและปลอดภัย รับรองโดย รพสต.เขาตูม

งบประมาณ ค่าตอบแทนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ท่านละ 1 ชั่วโมง 400x3= 1200 บาท ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมโครงการ 150 คน คนละ 25 บาท 150x25= 3750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักศึกษามีความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ผลิตอย่างสะอาดและปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4950.00

กิจกรรมที่ 5 จัดทำคู่มือสำหรับผู้บริโภคและข้อปฏิบัติสำหรับร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดทำคู่มือสำหรับผู้บริโภคและข้อปฏิบัติสำหรับร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รวบรวมข้อมูลเรื่องการสังเกตร้านด้าที่จะเข้าไปรับประทานและสุขลักษณะในร้านอาหาร ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลและผนวกเนื้อหาทางสุขลักษณะในมุมมองวิทยาศาสตร์และอิสลามศึกษา คู่มือสำหรับผู้บริโภค 100 เล่ม เล่มละ 50 บาท รวม 5000 บาท คู่มือสำหีับร้านอาหาร 30 เล่ม เล่มละ100 บาท รวม 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คู่มือสำหรับผู้ลริโภค 100 เล่ม คู่มือสำหรับร้านอาหาร 70 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการผ่านมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัย 70%
ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจในการเลือกรับประทานร้านอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 50%


>