กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลลางา โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ปี ๒๕๖๓

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลลางา โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ปี ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลางา

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลางาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับอสม.ในพื้นที่ ให้มีความรู้ มีสมรรถนะทางวิชาการที่เหมาะสม เพื่อสามารถจัดการดูแลผู้ป่วยในละแวกรับผิดชอบได้ถูกต้อง เหมาะสม และอีกทั้งเป็นการเสริมทักษะให้อสม.พัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเพื่อให้เป็น Smart อสม.ที่สมบูรณ์แบบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการควบคุมโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟู สมรรถภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีความรู้ ทักษะ ในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้ง ๔  ด้าน คือ 1.ด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2.ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ  ตนเอง และครอบครัว 3.ด้านการควบคุมและป้องกันโรค  โรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ 4.ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตนเอง และครอบครัว

1.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กลยุทธ์เชิงรุก และการประสานงาน แบบมีส่วนร่วมครอบคลุม

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถดูแลประชาชน ๕ กลุ่มวัยให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

1.00
3 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้มีเจตคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน

อสม.สามารถเป็นต้นแบบได้

1.00
4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสังคม คุณภาพชีวิตและสุขภาพ ของประชาชน

ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพในพื้นที่

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,380
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการจัดอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านวิชาการ และพัฒนาทักษะด้านการปฏิบัติงานเพื่อให้อสม.มีศักยภาพที่เหมาะและมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบ (จัดอบรม 6 วัน) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 12 มื้อ เป็นเงิน 15,00 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท จำนวน 6 มื้อ เป็นเงิน 15,00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 8 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีความรู้ ทักษะ การดูแลประชาชนและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนใน 5 กลุ่มวัยในพื้นที่ ครอบครัวละ 1 คน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนใน 5 กลุ่มวัยในพื้นที่ ครอบครัวละ 1 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงพื้นที่ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยมีตัวแทนครอบครัวละ 1 คน เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว และยกระดับคุณภาพชีวิต (ลงพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้านๆละ 1 ครั้ง) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1,380 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 34,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2563 ถึง 22 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำครอบครัว มีความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพทั้ง 4  ด้าน คือ 1.ด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2.ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ  ตนเอง และครอบครัว 3.ด้านการควบคุมและป้องกันโรค  โรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ 4.ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตนเอง และครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34500.00

กิจกรรมที่ 3 อสม.ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชิวิตประชาชนในเขตรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อสม.ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชิวิตประชาชนในเขตรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามหลังให้ความรู้ พร้อมทั้งมีการจัดการดูแลผู้ป่วยในแต่ละรายตามปัญหาสุขภาพ มีการปรึกษาหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่และมีการวางแผนการดูแลร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถดูแลประชาชน ๕ กลุ่มวัยให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ สามารถดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนตำบลลางามีการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน
2.ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรม และทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัว และชุมชน นำไปสู่การมีสุขภาพดี
3.ชุมชนมีความเข้มแข็ง ในด้านสังคม สุขภาพและคุณภาพชีวิตสามารถพัฒนาชุมชนตนเองได้แบบยั่งยืน


>