กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม หรือการเข้าสุหนัต ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายช่วยป้องกันและลดปัญาโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกทั้งสอดคล้องกับวิถีอิสลาม ซึ่งเยาวชนชายมุสลิมจำเป็นต้องจำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศทุกคน ในการนี้ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลาได้เห็นความเป็นบริบทเฉพาะที่ ที่ต่างจากพื้นที่อื่น ในด้านสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา อีกทั้งเป็นการดูแลส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนไทยมุสลิม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในการเข้าถึงการบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยและเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราการป่วยและอันตรายที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทส และความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเป็นปัยหาสาธารณสุขระดับท้องถิ่นได้ จึงขอให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม ดังนั้น กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา จึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิมประจำปี พ.ศ.2563 ขึ้นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ข้างต้น และดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์/แนวทางที่เกี่ยวข้อง และเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะเลือดออกมาก (Bleeding)จากการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม
2.เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
3.เพื่อให้เด้กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและสืบสานประเพณีการเข้าสุหนัตของพี่น้องชาวมุสลิมในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2020

กำหนดเสร็จ : 01/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นำเสนอโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนชายมุสลิม เพื่อรับการพิจารณาอนุมัติ 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 3.ประชาสัมพันธ์และออกประกาสให้ประชาชนรับทราบและเพื่อส่งบุตรหลานเข้าร่วมโครงการฯ 4.ดำเนินกิจกรรมโครงการฯ และติดตามแก้ปัยหาเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ 5.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 1 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เชิงปริมาณ
-เยาวชนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 90 -เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีการติดเชื้อหลังทำ อย่างน้อยร้อยละ 10 เชิงคุณภาพ เยาวชนมุสลิมได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา จำนวน 40000 บาท รายละเอียดดังนี้ (ทุกรายการสามารถเฉลี่ยจ่ายได้) วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น
ค่าบริการทางการแทพย์ คนละ 400*50 เป็นเงิน 20000 บาท
ค่ายาชา คนละ 100*50 เป็นเงิน 5000 บาท
ค่าถุงมือ คนละ 20*50 เป็นเงิน1000บาท
ค่าเข็ม คนละ10*50 เป็นเงิน500 บาท
ค่าไหมคนละ 150*50 เป็นเงิน7500 บาท
ค่า Set Sterrile คนละ25*50เป็นเงิน1250 บาท
ค่า Batadine30CC คนละ20*50เป็นเงิน 1000 บาท
ค่า Elasitix คนละ20*50เป็นเงิน 1000 บาท
ค่า Bactigrasคนละ25*50เป็นเงิน1250 บาท
ค่า Gauze 2 ซอง คนละ20*50เป็นเงิน1000 บาท
ค่าใบมีด คนละ10*50เป็นเงิน500 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุหนัต
2.สามารถลดภาวะเสี่ยงของการมีเลือดออกมาก และภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
3.เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ครอบครัวชุมชน ในการป้องกันการติดเชื้อ
4.เพื่อการเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่
5.เพื่อสืบทอดประเพณีการเข้าสุหนัตของศาสนาอิสลาม


>