กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก

หมู่ 2 บ้านสว.นอก -หมู่ 8บ้านราษฎร์ผดุง -หมู่ 11 บ้านซอยปราจีน ตำบลสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.65
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

26.25

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้
โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่ออันเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถป้องกันได้ และจากข้อมูลผลการคัดกรองประชากร อายุ35 ปีขึ้นไปในปี ๒๕62 ในเขตรับผิดชอบหมู่ หมู่ 2 บ้านสว.นอก และ หมู่ 8 บ้านราษฎร์ผดุง หมู่ 11 บ้านซอยปราจีน ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
จำนวน339 คน พบว่า มีประชากรกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 96 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.32 กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.67 และกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.25 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.65 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมก็อาจส่งผลให้ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติและจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องรับการรักษาโดยวิธีกินยาต่อเนื่องในระยะยาว ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดภาระและผลกระทบกับผู้ดูแลในอนาคตต่อไป
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวานขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ทั้งด้านสภาวะสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม วัฒนธรรม ควบคู่กันไป สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมตามวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายของการควบคุมโรค คือการลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความรู้และทักษะใน การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคได้ 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ 3. เพื่อเสริมพลังให้ชุมชนมีศักยภาพในการร่วมกันจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) เข้าร่วมกิจกรรมการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีความรู้และทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80
2.อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 10 3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ ระดับความดันโลหิต ปกติร้อยละ50 4.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากประชากรกลุ่มเสี่ยง ≤2.95 5.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จากประชากรกลุ่มเสี่ยง ≤1.25

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 137
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำอสม.ในการติดตาม การดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
การสร้างแกนนำอสม.ในการติดตาม การดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นสามารถช่วยเจ้าหน้าที่คัดกรองติดตามดูแลกลุุ่มเป้าหมายเสี่ยง -ทบทวนความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน -ฝึกทบทวนการใช้เครื่องวัดความดัน
-ฝึกทบทวนการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดการใช้เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
-การเฝ้าระวัง การประเมินความเสี่ยงความดันโลหิตสูง/เบาหวาน การส่งต่อ -แลกเปลี่ยน การเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานจากปีที่ผ่านมา -เสริมพลังให้ชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัญหาความดัน เบาหวาน เช่นกิจกรรมการออกกำลังกายเต้นแอโรบิค การปลูกผักปลอดสารพิษ งบประมาณ 1.กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นสามารถช่วยเจ้าหน้าที่คัดกรองติดตามดูแลกลุ่มเป้าหมายเสี่ยง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม. จำนวน 22 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2563 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.สามารถใช้เครื่องมือคัดกรองติดตามกลุ่มเสี่ยงวัดความดันโลหิตที่บ้าน/เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาระดับนำ้ตาลในเลือดได้ถูกต้อง 2.กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงได้รับการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามเกณฑ์คุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเสี่ยง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)/ผู้นำชุมชนฝ่ายสาธารณสุข หมู่ละ 2 คน เพื่อ -คืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)ให้ชุมชนรับทราบ
-ร่วมค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)ในชุมชน พร้อมแนวทางจัดการแก้ปัญหา -ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม (3 อ. 2 ส.)เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน -ร่วมออกมาตรการทางสังคม เพื่อให้ชุมชนยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)ในชุมชน
2.2 การดำเนินกิจกรรมติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 6เดือน ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอสม.และในกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มาเข้าร่วมกิจกรรมให้อสม.ไปดำเนินการเชิงรุกที่บ้าน การติดตามครั้งที่ 1 (เดือนมกราคม 2563)
1.จัดทำทะเบียนและสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงเพื่อบันทึกข้อมูลผลการคัดกรองและเปรียบเทียบผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ให้ความรู้ตามหลัก 3 อ. 2 ส.( อาหารออกกำลังกาย อารมณ์ บุหรี่ สุรา) และให้ชุมชนร่วม เสนอกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมตามวิถีชีวิตประจำวันให้ผู้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม สุขภาพ ได้ปฏิบัติ 3.ตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด
4.สำรวจข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงเป็นรายบุคคล เพื่อประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของคนในชุมชน 5.ดำเนินกิจกรรมการแยกกลุ่มเป้าหมายตามปิงปอง 7 สีเพื่อให้ทราบระดับความเสี่ยงและวางแผนการการจัดการดูแลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครั้งต่อไป การติดตามครั้งที่ 2 – ครั้งที่ 5
ครั้งที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์2563 ครั้งที่ 3 เดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 4 เดือนเมษายน2563 ครั้งที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2563 กิจกรรม ดังนี้ 1.ตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด 2.บันทึกข้อมูลสุขภาพ แยกกลุ่มเป้าหมายตามปิงปอง 7 สีเพื่อให้ทราบระดับความเสี่ยงและ วางแผนการการจัดการดูแลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครั้งต่อไป 3.ให้คำปรึกษา/เสริมพลังกลุ่มเป้าหมายให้มีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละบุคคลให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
และมีรอบเอวลดลงการลด ละเลิกในรายที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา

การติตตามครั้งที่ 6 (เดือนมิถุนายน 2563) 1.ตรวจประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด 2.บันทึกข้อมูลสุขภาพ แยกกลุ่มเป้าหมายตามปิงปอง 7 สีเพื่อให้ทราบระดับความเสี่ยงและ วางแผนการการจัดการดูแลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครั้งต่อไป 3.ให้คำปรึกษา/เสริมพลังกลุ่มเป้าหมายให้มีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละบุคคลให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีรอบเอวลดลงการลด ละเลิกในรายที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ 1 จัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเสี่ยง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)/ผู้นำชุมชนฝ่ายสาธารณสุข หมู่ละ 2 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมายเสี่ยง/ผู้นำชุมชน จำนวน 100 คน x 25 บาทx 1 มื้อ
เป็นเงิน 2,500 บาท 2.การติดตามกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงเดือนละ 1ครั้งจำนวน6ครั้ง (เบิก จำนวน 4 มื้อ) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การติดตามกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงจำนวน4มื้อ จำนวน 100 คน x 25 บาทx 4 มื้อเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการติดตามและประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพ เดือนละ 1ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 3 ซื้อวัสดุและเครื่องมือ

ชื่อกิจกรรม
ซื้อวัสดุและเครื่องมือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 680 บาท 2.ค่าจัดซื้อเครื่องมือการคัดกรองติดตามกลุ่มเป้าหมาย -เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง x 3,500 บาท เป็นเงิน7,000บาท 3.วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ(ถ่านไฟฉาย)สำหรับใส่ในเครื่องวัดความดัน
จำนวน 2 กล่องเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง 30 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุและเครื่องมือใช้ในการคัดกรองติดตามกลุ่มเป้าหมายเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ มีการลดปัจจัยเสี่ยง
ที่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น สามารถลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องรับการรักษาต่อเนื่องได้
๒.ชุมชนมีศักยภาพพร้อม ในการร่วมมือกันจัดการปัญหาการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)ในชุมชน สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตชุมชนได้


>