กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่นวัยใสห่างไกลยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

โรงเรียนอิสลามิยะฮ์สหวิทยา มูลนิธิ

-

โรงเรียนอิสลามิยะฮ์สหวิทยา มูลนิธิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานที่1 ให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพติดให้โทษ สภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรงโรคภัยอุบัติเหตุและปัญหาทางเพศ เห็นคุณค่าในตนเอง กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น ดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรง รักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน และสารเสพติด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนสังคม และประเทศชาติทั้งยังส่งผลกกระทบต่อสุขภาพ
ของผู้เสพ สร้างปัญหาให้กับบุคคลรอบข้างประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์และวัฒนธรรมตะวันตกทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่นสื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ตสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชน ขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ ในแม่วัยรุ่นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์นับเป็นปัญหาสำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไขดังนั้นจึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรร่วมมือแก้ไขปัญหา และหาแนวทางป้องกันเพราะหากปล่อยปละละเลย จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
โรงเรียนเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงจัดกิจกรรมรณรงค์ และให้ความรู้แก่เยาวชน เพื่อป้องและแก้ไขปัญหาลดลงและมีแนวทางป้องกันจากปัญหาดังกล่าวโดยให้นักเรียนและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้นักเรียนได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านโดยการแก้ไขและการป้องกันปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเสพติด

1.นักเรียนร้อยละ 95  มีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกัน ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติด

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีเกราะป้องกันตนเองจากสารเสพติดและสิ่งมึนเมา หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง และสามารถเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสารเสพติดให้แก่เพื่อนนักเรียน บุคลากร และชุมชนได้

1.นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากสารเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

1.นักเรียนมีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกันพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  เอดส์และปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศ อบายมุขและสิ่งเสพติด 2.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น 3.นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรม จัดกิจกรรมให้ความรู้ / กิจกรรมฐาน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรม จัดกิจกรรมให้ความรู้ / กิจกรรมฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม กิจกรรมที่ 1  อบรมให้ความรู้สารเสพติดชนิดต่างๆที่กำลังระบาดในปัจจุบัน กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนโดยจัดเป็นฐานความรู้ ฐานที่ 1 การเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา และผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในแม่วัยรุ่น ฐานที่ 2 ฐานเพศศึกษา ทักษะชีวิต /การวางแผนครอบครัว ฐานที่ 3 การป้องกันโรคเอดส์โรคอื่นๆ การป้องกันตนเองในภาวะคับขน และทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ต่างๆ ฐานที่ 4 ฐานความรู้  E –learining ในเรื่องต่างๆ เช่นความเสมอภาคระหว่างชาย –หญิง การเคารพสิทธิของผู้อื่น  หน้าที่และความรับผิดชอบตามวัยและความรับผิดชอบต่อครอบครัว ต่อชุมชนและสังคม 1.2 กิจกรรมย่อย  ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา พัฒนาการของตนเองเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นและผลกระทบการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และวิธีป้องกันตนเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนร้อยละ 95  มีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกัน ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติด 1.นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากสารเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง

1.นักเรียนมีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกันพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  เอดส์และปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศ อบายมุขและสิ่งเสพติด 2.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น 3.นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีทักษะชีวิตมีภูมิคุ้มกันต่ออบายมุขและสิ่งเสพติดร้อยละ 95
2.นักเรียนไม่เสพหรือแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง ร้อยละ95
3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ร้อยละ95
4.นักเรียนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศร้อยละ95
5.นักเรียนหลีกเลี่ยงสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย รวมทั้งปัญหาทางเพศร้อยละ95
6.นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญเห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจและสร้างความภาคภูมิใจ ในตนเอง และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมร้อยละ95


>