กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านสะพานหัก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 9

1. นางสาวโนรีหีมยิ
2. นางอารียาหมัดสา
3. นางสมถวิลชั่งหมาน
4. นางใหม่น๊ะด่าเร่
5. นางดรุณีสารีงาม

ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

3.00

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยในหมู่ที่ 9 นับว่าเป็นปัญหาสำคัญในระดับชุมชน สาเหตุเนื่องมาจากประชาชนในหมู่ที่ 9 มีจำนวนมากขึ้น สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน หมู่ที่ 9 ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการ “ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านสะพานหัก ” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนและชุมชนส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

3.00 10.00
2 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประฃุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ค่าอาหารอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คน ๆ ละ 25 บาท เป้นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2564 ถึง 2 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้เข้าอบรม/แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะ และตั้งกฎกติกาข้อตกลงเรื่องขยะของหมุ่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะ และตั้งกฎกติกาข้อตกลงเรื่องขยะของหมุ่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ - ค่าไวนิล 1 แผ่น จำนวน 500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 3600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท - ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผ่นละ 10 บาท จำนวน 100 แผ่น เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2564 ถึง 5 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้/มีกฎกติกาของหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งธนาคารชยะชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งธนาคารชยะชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งธนาคารขยะชุมชน - ให้ประชาชนนำชยะที่คัดแยกในครัวเรื่อนมาขายในจุดรับบริการ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน 11 คนๆ ละ 5 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงินจำนวน 1375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั้วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกที่ดีและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะและนำกลับมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2.ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะและทำให้มีความปลอดภัยจากโรคร้ายที่มีสาเหตุจากขยะในครัวเรือน
3. ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
4.ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ


>