กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

๑.นางณัฐธิดา ชัยเพชร
2.นางศิริวรรณทองมี
3.นางฉวีวรรณชัยแก้ว
4.นายสาโรจน์ จิตรา
5.นางจิราเพ็ชรสุด

หมู่ 1.หมู่3 หมู่ 6 หมู่7พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ แต่พบว่าในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด
มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้นซึ่งการระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ทั้งนี้เนื่องจาก
สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุที่สำคัญของ
การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าว คือ ประชาชนขาดการตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคขาดการเอาใจใส่
ในการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเอง
สถานีอนามัยบ้านนาท่าม ได้เล็งเห็นว่า ควรจัดทำโครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
อย่างต่อเนื่องโดยใช้กลวิธีการเชิญชวน โน้มน้าวใจในรูปแบบของการยกย่องและมอบรางวัล
ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สถานการณ์โรคของโรคอย่างทั่วถึงและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงอันตรายของโรค
เข้าร่วมกิจกรรมการเฝ้าระวังโดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเองอย่างจริงจัง
คลอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อลดอัตราการเกิดโรค โดยหน่วยงานภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนจะต้องร่วมมือ
กันในการดำเนินงานเพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดี
ของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1…เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออกร้อยละ80

100.00
2 2…เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน ร้อยละ 80

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 . กิจกรรมรณรงค์ ๔ ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
. กิจกรรมรณรงค์ ๔ ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)      1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน อสม.และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ       2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน และขอความร่วมมือให้นักเรียน ประชาชน ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย       3. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี         3.1. ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนและโรงเรียนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน         3.2. ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือนและโรงเรียนโดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่         3.3. ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง        4.จัดประกวดบ้านสะอาด ปลอดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย        5.จัดซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์พ่นกันยุง โลชั่นทากันยุง        6.ติดตามประเมินผลโครงการ

-  ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมรณรงค์จำนวน 54  คนๆละ 25 บาท4 ครั้ง   เป็นเงิน 5,400บาท - ค่าซื้อทรายอะเบทถังละ 4,500 บาท จำนวน 2 ถัง เป็นเงิน 9,000  บาท
- ค่าสเปรย์กำจัดยุง 50 กระป๋องๆละ 45 บาท  เป็นเงิน 2,250 บาท -ค่าโลชันทากันยุง 238 ซอง ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,190 บาท -ค่าป้ายไวนิลในการรณรงค์ไข้เลือดออก1.5
2.4 เมตร จำนวน 4 ผืนๆละ 540 บาท เป็นเงิน2,160  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออกร้อยละ80 2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออกร้อยละ80
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน ร้อยละ 80


>