กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลศรีบรรพต

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลศรีบรรพต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

พื้นที่ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง จากรายงานการสำรวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ในปี 2557 พบการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น หนึ่งในสามของประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อที่สำคัญความชุกเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 8.9 คิดเป็นจำนวนประมาณ 4.8 ล้านคน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 300,000 คน ความชุกของ ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 ในปีพ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 24.7 คิดเป็นจำนวนประมาณ 13 ล้านคน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 600,000 คน รวมถึงความชุกภาวะ น้ำหนักเกิน (BMI ≥ 25 kg/m2 ) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปีพ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น
จากการคัดกรองโรคเมตาบอลิกของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต ในปี 2560 – 2562พบว่า ประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 47.14 , 46.42 , 46.10 อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ 21.44 , 22.26 , 22.80 ประชากรที่มีภาวะเบาหวาน อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 26.91 , 32.76, 42.29อยู่ในกลุ่มกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ 2.01 , 4.66 , 4.81 จะเห็นได้ว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพตมีภาวะสุขภาพที่ผิดปกติและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ อสม.บ้านเหรียงงามและบ้านในในวัง จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลศรีบรรพต ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น และลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงน้อยกว่า  ร้อยละ 1.95
  • อัตรากลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ :ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ -ค่าอาหารว่างอบรมปรับเปลี่ยน 35 คน2 มื้อ 25 บาท2 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท 1.2 ติดตามประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ - ค่าอาหารกลางวันอบรมปรับเปลี่ยน 35 คน 1 มื้อ* 50 บาท2 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง *300 บาท2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างติดตามภาวะสุขภาพปรับเปลี่ยน 35 คน1 มื้อ25 บาท *2 วัน เป็นเงิน 1,750 บาท - วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ฟื้นฟูศักยภาพ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ฟื้นฟูศักยภาพ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ฟื้นฟูศักยภาพ อสม. สามารถให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงการติดตามและการส่งต่อ - ไม่ใช้งบประมาณ 2.2 ในรายที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน - แบบสอบถามพฤติกรรม,แบบบันทึกการวัดความดันโลหิตที่บ้าน,เอกสารให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เป็นเงิน 2,500 บาท 2.3 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๒. ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>