กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปู่

1.นายจรัญเกลาแก้ว
2.นายอาคมคงรอด
3.นางสำรวยเพชรเรืองสุด
4.นางศิรประภา พรหมแก้ว
5.นายสมศักดิ์สุขยูง

พื้นที่ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552เป็นร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และ ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 54.7 ในปี 2557 แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากวิธีการคัดกรองที่ผ่านมา ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560 และแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
จากการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ ปีงบประมาณ 2561 และ ปี2562 พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 22.10 และ ร้อยละ 21.10กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 37.42 และ ร้อยละ 43.87มีแนวโน้มเป็นกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น ปี 2562พบกลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ปี 2561 จำนวน 14 คนร้อยละ 3.54 และพบกลุ่มป่วยความดันโลหิตรายใหม่สูงจากกลุ่มเสี่ยง ปี 2561จำนวน 5 คน ร้อยละ 2.59
การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงฯทำให้สามารถพบกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยแต่แรก การดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ดังกล่าว ทั้งที่มีและไม่มีอาการ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มข้นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันและยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไปได้ถึง ร้อยละ 50
จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคฯที่ดีที่สุด ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปู่จึงได้จัดทำโครงการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคฯ

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้  ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
2 เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

1.อัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน   ร้อยละ ≤ 2.05 2.อัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง   ร้อยละ ≤ 2.95

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3อ 2ส แก่

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3อ 2ส แก่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวาน  จำนวน 100 คน และกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 20 คน --ค่าอาหารกลางวัน  50 บาท x 120 คน  = 6,000 บ. --ค่าอาหารว่าง  2 มื้อๆ ละ 25 บ. x 120 คน  = 6,000 บ. -ค่าป้าย 1,000 บ. -ค่าวัสดุ 1,500 บ. กลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน 130 คน และกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 30 คน ---ค่าอาหารกลางวัน  50 บาท x 160 คน  = 8,000 บ. --ค่าอาหารว่าง  2 มื้อๆ ละ 25 บ. x 160 คน  = 8,000 บ. -ค่าวัสดุ 1,500 บ. 3 ติดตามเฝ้าระวังสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดมหกรรมสุขภาพลดโรคฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดมหกรรมสุขภาพลดโรคฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดบู้ทมหกรรมสุขภาพลดโรคฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
ลดผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ลงได้


>