กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแผงค้าอาหารสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมือง (ประเภทที่ 2)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแผงค้าอาหารสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมือง (ประเภทที่ 2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจุดผ่อนผัน เทศบาลนครยะลา (ระบุ 5 คน)
1. นางสาวอุษนัยอุเมอร์
2. นางสาวอารีนาการียา
3. นางมารีเยาะ มะแซ
4. นางรอฮะย๊ะ กาเซ๊ะ
5. นางซาตีมาคอปอ

แผงค้าอาหารสนามช้าง เทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาหลายด้าน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาด้านการสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากประชาชนมีวิถีชีวิตที่รีบเร่ง ไม่มีเวลาปรุงประกอบอาหารเองหรือไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารแต่ละมื้อว่าเจือปนด้วยสารอันตรายชนิดใดบ้าง โดยส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานอาหารที่อร่อย สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง และอิ่มท้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว อาหารทานเล่น ซึ่งอาหารเหล่านี้ ผู้ขายนิยมใส่ผงชูรสในปริมาณสูง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับโรคภัยร้ายแรงที่จะเกิดตามมาจากการรับประทานอาหารโดยไม่รู้ถึงอันตรายที่มากับอาหาร
กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งเตือน เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณผงชูรสมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้ผงชูรส ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้มาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้ จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรส เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน หากกินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมอง และหากได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไปทำให้ไตเกิดการทำงานมากขึ้น
จากวิถีการบริโภคอาหารดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ดังเช่นในเขตเทศบาลนครยะลา มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมากขึ้น ความเจริญของเมืองทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในด้านการบริโภค จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าเป็นหลัก ประกอบกับข้อมูลทะเบียนร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2562 พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งสิ้น จำนวน 778 ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 366 แผง ใน 11 จุดผ่อนผัน ซึ่งสะท้อนได้ว่าชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลาส่วนใหญ่บริโภคอาหารจากร้านค้าเป็นหลัก และหนึ่งในจุดผ่อนผันที่มีแผงลอยจำหน่ายอาหารมากที่สุด คือ จุดผ่อนผันสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา เป็นจุดที่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่นนิยมไปรับประทาน เนื่องจากอยู่ในสวนสาธารณะและขายอาหารที่หลากหลาย มีจำนวนแผงขายอาหารมากถึง 46 แผง อาหารที่จำหน่ายประกอบด้วยแผงของทอด 10 แผง แผงปิ้งย่าง 8 แผง แผงอาหารตามสั่ง/อาหารจานเดียว เช่น ยำ ส้มตำ สุกี้ ฯลฯ 11 แผง แผงเครื่องดื่ม 10 แผง แผงผลไม้ 4 แผง และแผงขนม/ของหวาน 3 แผง โดยกลุ่มอาหารประเภทของทอด ปิ้งย่าง อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว ซึ่งมักจะมีการเติมผงชูรสนั้น รวมจำนวน 29 แผง จากการสำรวจพบว่า มีการใช้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร คิดเป็นร้อยละ 100 อีกทั้งในบริเวณจำหน่ายอาหารดังกล่าว มีขยะประเภทขยะอินทรีย์และขยะทั่วไป ได้แก่ เศษอาหาร ไม้เสียบลูกชิ้น หลอด กล่องพลาสติก และถุงพลาสติกจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่เป็นเศษอาหาร ซึ่งมีการทิ้งขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะจนทำให้บางจุดในสวนสาธารณะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและพาหะนำโรค นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเกิดอันตรายจากไม้เสียบลูกชิ้นบาดหรือทิ่มได้
จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการค้าในจุดผ่อนผันแผงลอยจำหน่ายอาหารในสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำโครงการแผงค้าอาหารสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมืองเพื่อนำร่องการเป็นต้นแบบในการส่งเสริมให้มีการลด ละ เลิกใช้ผงชูรสในการประกอบอาหารมีการเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ในแผงค้าดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีการจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมืองยะลาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรสและการจัดการขยะแก่ผู้ประกอบการ
  1. ร้อยละ 100 ผู้ค้าในจุดผ่อนผันเข้าร่วมอบรมตามโครงการ
  2. ร้อยละ 80 แผงค้าที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรส และการจัดการขยะ
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อสร้างจุดผ่อนผันแผงจำหน่ายอาหารต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นแผงค้าต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ

0.00
3 ข้อ 3 เพื่อส่งเสริมให้ร้านค้ามีมาตรการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคในการลดขยะ โดยการนำภาชนะมาใส่อาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 46
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน และรับสมัครร้านค้าต้นแบบปลอดผงชูรส และสนับสนุนการคัดแยกและลดขยะ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน และรับสมัครร้านค้าต้นแบบปลอดผงชูรส และสนับสนุนการคัดแยกและลดขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 25.-บาท จำนวน 1 มื้อ
                               เป็นเงิน         250.- บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสาร เอกสารประกอบการประชุมและแผ่นพับ/ใบสมัครแผงค้าต้นแบบ ขนาด A4 ขาว-ดำ จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 5 บาท      
                                 เป็นเงิน          230.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
480.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมความรู้เรื่องผงชูรสเทคนิคการปรุงอาหารปลอดผงชูรส เมนูชูสุขภาพ และการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมความรู้เรื่องผงชูรสเทคนิคการปรุงอาหารปลอดผงชูรส เมนูชูสุขภาพ และการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท
                                   เป็นเงิน      2,760.- บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 46 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท
                                   เป็นเงิน      3,680.- บาท
  3. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์ใช้ในการอบรม     3.1 ค่าวัสดุเครื่องเขียน
             - กระดาษ A4 1 รีมๆ ละ 135 บาท
                                   เป็นเงิน          135.-บาท          - ปากกา 46 ด้ามๆ ละ 5 บาท
                                   เป็นเงิน          230.-บาท          - แฟ้มกระดุม 46 อันๆ ละ 12 บาท
                                   เป็นเงิน          552.-บาท
       3.2 ค่าชุดสาธิตจุดจัดการขยะ เพื่อให้จุดผ่อนผันจำหน่ายอาหารปลอดขยะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและพาหะนำโรค                                เป็นเงิน       5,000.-บาท                           รวมเป็นเงิน      5,917.-บาท
  4. ค่าถ่ายเอกสาร คู่มือฝึกอบรม 46 ชุด ๆ ละ 25 บาท
                                   เป็นเงิน       1,150.-บาท
  5. ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท
                                   เป็นเงิน      3,600.- บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17107.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินร้านค้าปลอดผงชูรสและปลอดขยะ พร้อมเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านค้าปลอดผงชูรสและปลอดขยะ พร้อมเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน  ณ แผงค้า จำนวน  5 คน จากหน่วยงานราชการในพื้นที่ พร้อมเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สาร  โพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ในแผงค้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล และประเมินผลสำเร็จ เพื่อเชิดชูร้านค้าต้นแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล และประเมินผลสำเร็จ เพื่อเชิดชูร้านค้าต้นแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆ ละ
       25 บาท
                                  เป็นเงิน        1,150.-บาท
  2. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์        - กระดาษ A4 1 รีมๆ ละ 135 บาท
                                  เป็นเงิน           135.-บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลโครงไม้ประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมติดตั้ง
                                   เป็นเงิน       2,400.-บาท
  4. ค่าป้ายรับรองร้านค้าปลอดผงชูรส จำนวน
        29 ป้ายๆ ละ 150 บาท                                เป็นเงิน       4,350.-บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารเอกสารประกอบการประชุม
        จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 5 บาท
                                   เป็นเงิน          230.-บาท
  6. ค่าจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 3 เล่มๆ ละ 200 บาท
                                   เป็นเงิน          600.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8865.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,452.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการมีความรู้เเละตระหนักถึงความสำคัญในการจำหน่ายอาหารอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
2. ผู้ประกอบการสามารถกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
3. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ทำให้ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารได้


>