กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตรัง

1.นางสิริอร ทับนิล 2.นางกัลยารัตน์ ไชยแก้ว 3.นางมาลิบ แววสุวรรณ 4.นางสุทิน ซ้ายศีร 5.สุจินทร์ มณีเนียม

บ้านตรัง ม.2 ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปในปี 2562 ของตำบลตรัง จำนวน838 คนคิดเป็นร้อยละ81.9พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน369คนคิดเป็นร้อยละ36.5และกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจำนวน136คนคิดเป็นร้อยละ 13.5
จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปในปี 2562 ของตำบลตรังจำนวน
1030 คนคิดเป็นร้อยละ95.9พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 103 คนคิดเป็นร้อยละ10.7
และกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน16 คนคิดเป็นร้อยละ 1.5
ซึ่งสาเหตุของปัญหา มีดังนี้ 1.การรับประทานอาหารทีมีรสหวาน มัน เค็ม 2.ขาดความตระหนักในการปรับเปลียนพฤติกรรม ที่ถูกต้อง จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตรังได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการติดตามและเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตำบลตรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฎิบัติตัวของประชาชนในขณะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง

1.ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือด และค่าความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ ปกติ 3 ครั้งติดต่อกัน

101.00
2 2.เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้ภาวะของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

1.มีการบันทึกผลค่าน้ำตาลในเลือด และค่าความดันโลหิต 10 ครั้ง ภานใน  5 เดือน

369.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 505
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1.จัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 สำรวจฐานข้อมูลประชากร จำแนกข้อมูลเป็นรายหมู่บ้าน -ประชากร กลุ่มอายุ 15-29 ปี         - ประชากรกลุ่มอายุ 30-34 ปี
        - ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1.2 ดำเนินการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรอง 1.3 วิเคราะห์ข้อมูลการคัดกรองจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.3.1 กลุ่มเสี่ยง 1.3.2 กลุ่มสงสัยป่วย 1.3.3 กลุ่มป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีฐานข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 2.การศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
2.การศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงโดยใช้แบบประเมินกองสุขศึกษาก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 2.2 วิเคราะห์ข้อมูล 2.3 เผยแพร่รูปแบบกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2.4 ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงหลังเข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูล และรูปแบบพฤติกรรมของ กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.การพัฒนาคุณภาพคลินิกบริการ

ชื่อกิจกรรม
3.การพัฒนาคุณภาพคลินิกบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ด้านบุคลากรส่งเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี
3.2 ด้านผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและระดับความดันโลหิตสูงมีการบันทึกพฤติกรรมในสมุดประจำตัว 3.3 ด้านอาสาสมัครสาธารณสุขมีการติดตามประเมิน ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ค่ายานพาหนะอาสาสมัครสาธารณสุขในการคัดกรองและจัดเก็บข้อมูล 23 คนๆ ละ 100 บาท 10 วันเป็นเงิน 23,000.- บาท 3.4 จัดทำคลินิกเบาหวานในสถานบริการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีการศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง
2.ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานสามารควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.มีคลินิกบริการโรคความดันเบาหวาน อย่างมีคุณภาพ
5.มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยังยืน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตำบลตรัง


>