กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ต.คลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลคลองขุด

1. นายชัยณรงค์ ไชยจิตต์ประธานชมรมคนหัวใจเพชรโทร. 099-4970594.
2. นายวีระชาติ นฤภัยรองประธานชมรมโทร.080-5397738
3. นางสาวสุภาภรณ์ จันทร์เมืองเลขานุการโทร 065-0371726
4. .นางวนิดา จาแคล่วคล่องผู้ช่วยประชาสัมพันธ์โทร.089-6538679
5.นางบุญตา บัวเพ็ชรผู้ช่วยเหรัญญิกโทร.092-8902826.

ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่

 

50.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

32.84
3 จำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(คน)

 

150.00
4 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน(คน)

 

21.00
5 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่

 

60.00

“สุขภาวะ” เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องของร่างกายจิตใจสังคมและปัญญามากกว่าที่จะมองถึงเรื่องการเจ็บป่วยและการให้ความสำคัญต่อการป้องกันและรักษาโรคด้วยยาวัคซีน เครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ดังนั้นคนที่มีสุขภาวะคือคนที่มีสุขภาพดี (Right to Health) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หลายมาตรา เช่น บุคคลมีสิทธิดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดังนั้น สุขภาวะที่ดีนั้นต้องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยองค์กรของชุมชนจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างสุขภาวะที่ดีของชุมชน
ด้วยพฤติกรรมการดื่มสุราฯของประชากรในปี 2561 พบว่าในจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราในรอบ 12 เดือนที่แล้วประมาณ 17.7 ล้านคน (ร้อยละ32.3) โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่าหญิงประมาณ 4 เท่า กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) มีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่ากลุ่มอื่น (ร้อยละ 38.2) และมีข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้สูงวัยที่ดื่มสุราสูงถึงร้อยละ 18.4เมื่อพิจารณาถึงความบ่อยครั้งของการดื่มสุราฯ พบว่าร้อยละ 57.6 เป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง ร้อยละ 42.4 เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาความถี่หรือความบ่อยครั้งในการดื่มของกลุ่มผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอนั้น พบว่าเป็นผู้ที่ดื่ม 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไปถึงร้อยละ 38.3 ซึ่งในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดื่มทุกวันสูงถึงร้อยละ 26.2
สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงตำบลคลองขุด
ปัจจุบันนี้เด็กและเยาวชนในตำบลคลองขุดมีพฤติกรรมความเสี่ยงมากมาย เช่น การมั่วสุมยาเสพติด (น้ำกระท่อม) ,ท้องไม่พร้อมของเยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เยาวชนและผู้ใหญ่สูบบุหรี่ อายุ 15-60 ปี การขับขี่รถจักยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถฝ่าฝืนกฎหมายจราจร แต่ละหมู่บ้านในตำบลคลองขุดเด็กและเยาวชนขาดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมขาดพื้นที่ทำกิจกรรม ขาดงบประมาณทำกิจกรรมพฤติกรรมของผู้ใหญ่มีการรวมตัวตั้งวงดื่มเหล้า ไม่ค่อยสนใจงานเพื่อสังคมในชุมชนของตนเอง ทางด้านสังคม เช่น ไม่รวมกลุ่มเล่นกีฬา,ไม่รวมกลุ่มจัดกิจกรรม เป็นสาเหตุหรือปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทั้งด้านพฤติกรรมความเสี่ยง
จากข้อมูลสถานการณ์การในตำบลคลองขุด จำนวนครัวเรือนตำยลคลองขุด 8,975 หลังประชากรทั้งหมด 20,258 คน ชาย 10,462คน หญิง 9,796คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ3,040 คนที่ดื่มประจำประมาณ 315 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 2,725 คนโดยแยกเป็นชุมชนดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านเขาจีน 1,395 หลัง ประชากรทั้งหมด4,165 คน ชาย 2,102คน หญิง2063 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ540 คนทีดื่มประจำประมาณ 40 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 500 คน
หมู่ที่ 2 บ้านท่าจีน จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านท่าจีน981หลัง ประชากรทั้งหมด1,800 คนชาย 870คน หญิง930 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ300 คนทีดื่มประจำประมาณ 35 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 265 คน
หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านเกาะนก 692 หลังประชากรทั้งหมด1,961 คน ชาย 1,001คน หญิง960 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ300 คนทีดื่มประจำประมาณ 30 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 270 คน
หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านคลองขุด2,365 หลัง ประชากรทั้งหมด4,318 คน ชาย2,081 คน หญิง 2,237 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 800 คนทีดื่มประจำประมาณ 80 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 720 คน
หมู่ที่ 5 บ้านนาแค จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านนาแค 372 หลัง ประชากรทั้งหมด1,325 คน ชาย 674คน หญิง651 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ200 คนทีดื่มประจำประมาณ 30 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 170 คน
หมู่ที่ 6 บ้านวัดหน้าเมือง จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านวัดหน้าเมือง 1,561 หลัง ประชากรทั้งหมด3,212 คน ชาย 2,029คนหญิง1,183 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ400 คนทีดื่มประจำประมาณ 30 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 370 คน
หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ จำนวนครัวเรือนชุมชนบ้านคลองขุดเหนือ 1,607 หลัง ประชากรทั้งหมด3,428 คน ชาย 1,675คน หญิง1,753 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ500 คนที่ดื่มประจำประมาณ 70 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 430 คน

แหล่งที่มาของข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลประชากร จาก งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลคลองขุด ณ เดือน มีนาคม2563
แหล่งที่มาของข้อมูลการดื่มเหล้าจาก การสำรวจโดยคณะทำงานงดเหล้าเข้าพรรษาทั้ง 7 หมู่บ้าน ภายใต้ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.สตูล

ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นในแต่ละประเด็นดังกล่าวจึงต้องมีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน โดยการเปิดพื้นที่ให้ความรู้เท่าทันเรื่องของเหล้า บุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงต่างฯโดยใช้ช่วงสำคัญของวันเข้าพรรษาเชิญชวน ลด ละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่ หรือสิ่งเสพติดต่างๆ หรือใช้หลักการของศาสนาช่วงงดเหล้าเข้าพรรษามาช่วยแก้ไขกับการให้ความรู้ สร้างแกนนำกลุ่มแต่ละหมู่บ้าน สนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษามีกิจกรรม ช่วย ชม เชียร์ โดยรูปแบบการให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อให้อยู่ครบพรรษาจำนวน 3 ครั้ง ก่อน กลาง หลัง กิจกรรมน้องเยาวชนชวนผู้ปกครองงดเหล้าเข้าพรรษากับทำความดีทุกวันอาทิตย์ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนกิจกรรมหล่อเทียน กิจกรรมเก็บข้อมูลคนดื่มคนสูบ กิจกรรมเชิดชูคนหัวใจหิน คนหัวใจเหล็ก คนหัวใจเพชร กิจกรรมงานศพ งานแต่งปลอดเหล้า จากการทำกิจกรรมแต่ละครั้งมีการสรุปงานเพื่อปรับปรุง ต้องมีแหล่งทุนขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง พร้อมทั้งได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนให้เกิดกลไกการกระจายโอกาสแก่กลุ่มที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาและงดบุหรี่และผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานและแกนนำรายใหม่แต่ละพื้นที่ รวมถึงการเชื่อมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา งดบุหรี่ในพื้นทีตำบลคลองขุดที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อไป
เพื่อให้เกิดความยังยืนในการขับเคลื่อนงาน สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในระดับพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีแกนนำชุมชนแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผู้นำศาสนา(พระ) เป็นที่ปรึกษาหรือผู้นำชุมชนมีแกนนำเยาวชนแต่ละหมู่บ้านที่เป็นผู้ดำเนินงาน ทำให้เกิดชมรมคนหัวใจเพชร โดยกิจกรรมทำกับกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ 15- 70 ปี ทั้ง 7 หมู่บ้านของตำบลคลองขุดเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน งดเหล้าเข้าพรรษา สร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนอายุ 14-20 ปี จำนวน 35 คน เพื่อให้มีจิตอาสาพัฒนาศักยภาพแกนชุมชนกับคนหัวใจเพชรเพื่อจัดตั้งชมรมคนหัวใจเพชรของตำบลคลองขุด ฝึกอบรมการเก็บข้อมูล ฝึกการเป็นผู้นำ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ความตระหนักความเข้าใจโทษภัยของปัจจัยเสี่ยงต่างฯ เหล้า บุหรี่ให้กับผู้ที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาของตำบลคลองขุดทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองทั้ง 7 พื้นที่ ทั้งนี้ด้วยต้นทุนด้านศักยภาพของทีมงาน (ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลคลองขุด) ประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการ และเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา อาทิเช่น /พมจ.สตูล/สสจ.สตูล /ปภ.สตูล ,เทศบาลตำบลคลองขุด /วัด / มัสยิด/ อำเมืองสตูล /สสอ.เมืองสตูล/รวมทั้งการทำงานร่วมกับคณะทำงานชมรมคนหัวใจเพชรตำบลคลองขุด จะสามารถช่วยสนับสนุนและผลักดันให้โครงการสามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
ทางชมรมคนหัวใจเพชรตำบลคลองขุด มองเห็นปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าจึงอยากทำให้เกิดพื้นที่นำร่องลดปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ พื้นที่ตำบลคลองขุด จึงเกิดโครงการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ตำบลคลองขุดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

50.00 45.00
2 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

60.00 55.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบัน ทั้งดื่มประจำและครั้งคราว ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่ม เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

150.00 210.00
4 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

32.84 28.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนเพิ่มขึ้น(คน)

21.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำดำเนินกิจกรรม 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/11/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมทำความเข้าใจผู้นำศาสนาพุทธ และแกนนำพื้นที่รูปธรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมทำความเข้าใจผู้นำศาสนาพุทธ และแกนนำพื้นที่รูปธรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เพื่อจัดหาคณะทำงานในพื้นที่
    • เพื่อหาผู้เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา และ ลด ละ เลิกบุหรี่
    • เพื่อรณรงค์ในพื้นที่
    • เพื่อค้นหาคนหัวใจเพชรในพื้นที่
    • วางแผนงานออกแบบกิจกรรมในพื้นที่
    • เพื่อจัดทำข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาและข้อมูลผู้สูบบุหรี่ ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านแบบสอบถาม งบประมาณ
      -ค่าอาหาร 25 คน x 100 บาท = 2,500 บาท
      -ค่าอาหารว่าง 25 คน.x25 บาท = 625 บาท x 2 ครั้ง =1,250 บาท
      -ค่าทำความสะอาดกับจัดห้องประชุม 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2563 ถึง 15 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. มีผู้เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา และลด ละ เลิกบุหรี่ จำนวน 500 คน 2. มีข้อมูลผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอออล์ และข้อมูลผู้สูบบุหรี่ ผลลัพธ์ มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา และลด ละ เลิกบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมทีมทำงานพื้นที่ชุมชนรูปธรรมและเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมทีมทำงานพื้นที่ชุมชนรูปธรรมและเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เพื่อจัดทำข้อมูลผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้สุบบุหรี่
  • ออกแบบกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่  กับเชิญชวนคนเช้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา
  • เพื่อค้นหาคนหัวใจเพชรในพื้นที่(คนหัวใจเพชร หมายถึงคนทีเลิกเหล้าหรือหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 ปีขึ้นไปแล้ว )เพื่อมาเป็นบุคคลตัวอย่างเชิญชวนคนให้มาเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป
  • เพื่อจัดทำข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาและข้อมูลผู้สูบบุหรี่ ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านแบบสอบถาม
    งบประมาณ
  • ค่าอาหาร 40 คน x 100 บาท = 4,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง  40 คนx  25 บาท = 1,000 บาท x 2 ครั้ง =2,000 บาท
  • ค่าทำความสะอาดกับจัดห้องประชุม 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
หมู่บ้านละ 5 คน จำนวน 7 หมู่บ้าน รวม 35 คน ผลลัพธ์
มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา และลด ละ เลิกบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงหล่อเทียนพรรษากับเวทีบวชใจ (งดเหล้าเข้าพรรษา)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงหล่อเทียนพรรษากับเวทีบวชใจ (งดเหล้าเข้าพรรษา)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม รณรงหล่อเทียนพรรษากับเวทีบวชใจ (งดเหล้าเข้าพรรษา)
- รณรงค์เชิญชวนงดเหล้าเข้าพรรษา
- เพื่อรับลงนามปฎิญาญตนงดเหล้าเข้าพรรษา

งบประมาณ
-ค่าอาหารคำ 70 คน x 100 บาท = 7,000 บาท
-ค่าอาหารว่าง 70 คน x 25 บาท = 1,725 บาท
-ค่าไวนิล 2 ป้าย เมตรละ 150 บาท ขนาดความยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร = 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2563 ถึง 12 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>