กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยใส ลดอ้วน ห่างไกลโรคเรื้อรัง ด้วยเมนูชูสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch

 

1.00
2 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มหวานจัดเป็นประจำ

 

65.00
3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน

 

25.00

ปัจจุบันปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้น ไม่ได้คุกคามเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนยังลามไปถึงวัยนักเรียน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ และหันกลับมาแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหลานกันอย่างจริงจังในอดีตคนทั่วไปมักคิดว่าเลี้ยงลูกให้อ้วนทำให้ดูน่ารัก น่าเอ็นดู แต่ในทางการแพทย์ เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีภาวะโรคอ้วน
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประเมินว่า ทั่วโลกมีเด็กอ้วนที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนกว่า 22 ล้านคน ทำให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ส่วนประเทศไทยจากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในนักเรียนพบว่าเด็กไทยทุก ๆ 5 คนจะพบอย่างน้อย 1 คนที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างมาก เนื่องจากโรคอ้วนเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นเด็กหญิงที่อ้วน จะเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนจะมาเร็ว และกระดูกปิดเร็ว ทำให้สูงได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงน่าเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นใหม่จะเตี้ยลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนยังมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็กอีกด้วย โดยพบว่าเด็กอ้วนส่วนมากมักมีปมด้อยจากรูปร่างของตัวเองและมักถูกเพื่อนๆล้อ ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน เบื่อหน่ายการเรียนได้ ส่งผลให้เรียนไม่ดี
ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด พบว่ามีเด็กที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 25 ของเด็กนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานเป็นประจำ และชอบกินขนมขบเคี้ยว
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนอ้วนและเริ่มอ้วนได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วนและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความอ้วน ส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เรียนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ และนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้างได้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการโครงการวัยใส ลดอ้วน ห่างไกลโรคเรื้อรัง ด้วยเมนูชูสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch

1.00 1.00
2 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มหวานจัดเป็นประจำ

ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มหวานจัดเป็นประจำลดลง

65.00 60.00
3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน

ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วนลดลง

25.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
สำรวจภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเทียบกราฟแสดงน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเพื่อติดตามการเจริญเติบโต 2. ประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 3. รายงานภาวะการเจริญเติบโตของเด็กให้ผู้ปกครองทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เด็กนักเรียนได้รับการประเมินภาวะการเจริญเติบโต ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ 1.ครูและผู้ปกครองทราบภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 2.ผู้ปกครองทราบว่าบุตรหลานของตนมีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วนและต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมโตไป ไม่อ้วน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโตไป ไม่อ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค เต้นประกอบเพลงทุกวันตอนเช้า หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต นักเรียนได้ออกกำลังกายทุกวันตอนเช้า หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ นักเรียนได้เคลื่อนไหว เพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มการเผาผลาญ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างจากโรคอ้วน ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างจากโรคอ้วน ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. นักโภชนาการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ เหมาะสมกับวัย โดยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านที่มีความถนัดในด้านการทำอาหาร เพื่อคิดค้นเมนูอาหารสำหรับเด็กที่เป็นอาหารที่อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน (บริโภคอาหารเป็นยา)และออกแบบเมนูอาหารพื้นบ้านที่มีการใช้พืชผักพื้นบ้านในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมมอบสูตรอาหารเพื่อสุขภาพโดยอนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและวิทยากร 52 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและวิทยากร 52 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,120 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360 บาท
5. ค่าวัสดุการสาธิตทำอาหารเมนูชูสุขภาพ เป็นเงิน 2,000 บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับความรู้เรื่องอาหารตามวัย ร้อยละ 80 2.ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และสามารถไปใช้ประโยชน์จากเมนูอาหารได้ ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้บริโภคอาหารอ่อนหวาน ส่งเสริมการไม่รับประทานอาหารประเภทของหวานแก่นักเรียน โดยมีเมนูอาหารที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัยได้สารอาหารครบถ้วน  อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12180.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมเพื่อผลักดันเอาเมนูอาหารภูมิปัญญาของชาวบ้านให้สามารถปรับใช้ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อผลักดันเอาเมนูอาหารภูมิปัญญาของชาวบ้านให้สามารถปรับใช้ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - นำครู ศพด. ผอ.กองการศึกษา ผู้ประกอบการอาหารในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา มาร่วมกันจัดทำข้อตกลงและจัดให้มีการนำเอาเมนูจากภูมิปัญญาชุมชน ทำอาหารเพื่อสุขภาพที่อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยนำวัสดุในพื้นที่มาทำอาหารเพื่อสุขภาพ ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
2.จัดทำคู่มืออาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิปัญญาชุมชน จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีบันทึกข้อตกลงระหว่าง ศพด., ผอ.กองการศึกษา,คณะกรรมการสถานศึกษา ในการจัดทำเมนูอาหารสำหรับนักเรียนศพด.โดยให้เมนูอาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิปัญญาชุมชน ผลลัพธ์ นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเทียบกราฟแสดงน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเพื่อติดตามการเจริญเติบโต 2. ประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 3. รายงานภาวะการเจริญเติบโตของเด็กให้ผู้ปกครองทราบ 4. ส่งต่อ และแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน กลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา ให้สถานบริการสาธารณสุขและคลินิกไร้พุง 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินภาวะการเจริญเติบโต ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ นักเรียนที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุขและคลินิกไร้พุงเพื่อแก้ไขปัญหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย อนุรักษ์การดำเนินชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน
2.นักเรียนสามารถ ลด ละ เลิกการรับประทานขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม อาหารหวานจัด เพื่อป้องกันภาวะอ้วนและห่างไกลโรคเรื้อรัง


>