กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโกตาบารู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโกตาบารู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเฆาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเฆาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญาโดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลโกตาบารู พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ2557-2559 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.84 , 5.29 , 5.90 และ 4.92 ตามลำดับ จากรายงานขนาดของปัญหาถึงแม้จะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเฆาะ จึงได้จัดทำโครงการการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักในการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในครอบครัวและชุมชน

ผู้ปกครอง(ครอบครัว)และชุมชน ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการเพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการ ร้อยละ 80

13.00 13.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ

มีข้อตกลงด้านโภชนาการของครอบครัวและชุมชน

80.00

เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็ก จำนวน 13 คน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 13
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 13
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีประเมินภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
เวทีประเมินภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ จัดกิจกรรมการประเมินภาวะโภชนาการให้กับเด็กในศูนย์เด้กเล็ก จำนวน 13 คน ณ อาคารศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะต.โกตาบารู อ.รามันใช้ระยะเวลา จำนวน 1 วัน
โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารูร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เด้กเล็ก ในการประเมิน โดยมีผู้ปกครองของเด็ก มาร่วมรับรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการ ค่าอาหารกลางวัน20 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท ค่าอาหารหว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการเป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวและศูนย์เด็กเล้กมีข้อมูลภาวะโภชนาการของเด้กเล็กในศูนย์ที่เป็นปัจจุบัน จำนวน 13 คน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาและเป็นฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีคืนข้อมูลด้านภาวะโภชนาการให้แก่ครอบครัวและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เวทีคืนข้อมูลด้านภาวะโภชนาการให้แก่ครอบครัวและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลด้านภาวะโภชนาการให้แก่ผู้ปกครองครอบครัวและแกนนำของชุมชน รวมจำนวน 50 คน ณ อาคารศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะต.โกตาบารู อ.รามันใช้ระยะเวลา จำนวน 1 วัน
โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารูร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เด้กเล็ก แกนนำชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชนในการมาร่วมรับรู้ข้อมูลภาวะโภชนาการและร่วมเป็นเจ้าภาพในการร่วมแก้ไขปัญหา ค่าอาหารกลางวัน37 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,700 บาท ค่าอาหารหว่างและเครื่องดื่ม 37 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,850 บาท ค่าวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 8550บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2563 ถึง 18 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวและแกนนำ/ ภาคีเครือข่าย ในชุมชน ได้รับทราบข้อมูลและร่วมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีเสริมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีเสริมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศูนย์เด็กเล็กจัดเวทีเสริมพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบการปฏิบัติการเชิงกระบวนการโดยเชิญผู้ปกครองพ่อแม่ เด็กที่มีภาวะโภชนาการในการร่วมกิจกรรม ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลและหรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยใช้เนื้อหาตามหลักสูตรของกรมอนามัย  ใช้ระยะเวลาจำนวน  1 วัน ณ ศูนย์เด้กเล้กบ้านเฆาะ ค่าอาหารกลางวัน  35 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท ค่าอาหารหว่างและเครื่องดื่ม 35 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท ค่าวิทยากร 2 คน x 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 6000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 11250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2563 ถึง 25 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง พ่อแม่เด็ก มีองค์ความรู้สามารถที่จะดูแลและกระตุ้นภาวะโภชนาการของเด็กได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีกำหนดข้อตกลงด้านโภชนาการของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เวทีกำหนดข้อตกลงด้านโภชนาการของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ จัดกิจกรรมเวทีกำหนดข้อตกลงด้านโภชนาการระหว่าง ผู้ปกครองครอบครัวและแกนนำของชุมชน และจนท.ศูนย์เด้กเล็ก รวมจำนวน 50 คน ณ อาคารศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะต.โกตาบารู อ.รามันใช้ระยะเวลา จำนวน 1 วัน
โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารูร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เด้กเล็ก แกนนำชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน  เข้าร่วมเสนอและพิจารณาในเวทีกำหนดข้อตกลงด้านโภชนาการและร่วมติดตามตรวจสอบ ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท ค่าอาหารหว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 10500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2563 ถึง 26 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนครอบครัวและศูนย์เด้ก มีข้อตกลงร่วมกันในการจัดการปัญหาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโภชนาการของชุมชน โดยชุมชนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์แก้ไขปัญหาและติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์แก้ไขปัญหาและติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์แก้ไขปัญหาและติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง  ในรูปแบบกิจกรรมย่อย เช่นการออกกำลังกายในสนาม การรณรงค์กระตุ้นให้เด้กบริโภคผัก ผลไม้  และการบริโภคอาหารเสริมและติดตามไปถึงที่บ้านในการดูแลจัดการ ไม่กินขนมกรอบ ขนมหวาน โดยจัดกิจกรรมรณรงค์และติดตามที่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5 เดือน ค่าตอบแทนการเยี่ยมติดตาม(ที่บ้าน) 13 หลัง x 100 บาท x 5 เดือน เป็นเงิน 6500 บาท ค่าอุปกรณ์ (เครื่องชั่งน้ำหนักและสายวัด) เป็นเงิน 500 บาท ค่าวัสดุ (อาหารเสริม) ไข่ นม และผัก ผลไม้  13 คน x 100 บาท x 5 เดือน เป็นเงิน 6500 บาท รวมเป็นเงิน 13500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 เดือน ทุกคน ส่งผลให้ภาวะโภชนาการดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานแก้ไขภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานแก้ไขภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะ จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนการดำเนินงานแก้ไขภาวะโภชนาการในศูนย์เด้กเล็ก จำนวน 50 คน ณ อาคารศูนย์เด็กเล็กบ้านเฆาะต.โกตาบารู อ.รามันใช้ระยะเวลาครึ่งวัน ช่วงบ่าย
โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารูร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เด้กเล็ก ในการถอดบทเรียน โดยมีผู้ปกครองของเด็ก มาร่วมรับรู้ ค่าอาหารหว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2563 ถึง 27 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดบทเรียนด้านการจัดการภาวะโภชนาการในศูนย์เด้กเล็ก จำนวน 1 ชุดความรู้เพื่อเป็นต้นแบบแก่ศูนย์เด้กเล็กในชุมชนอื่นๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,050.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเล็กมีภาวะโภชนาการระดับปกติ มีสุขภาพแข็งแรง ผู้ปกครองพ่อแม่มีความเข้าใจและตระหนักในการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะโภชนาการ โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม


>