กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพตำบลบ้านควน

1.นางชำรีฮะอุรา ประธานกลุ่ม
2.นางสารีป๊ะ นำยูรีรอง ประธาน
3.นางสมศรีสุมาตร เหรัญญิก
4.นางเจ๊ะนารีณา ฮะอุรา เลานุการ
5.นางสาวอนงค์สนหละกรรมการ
ที่ปรึกษาโครงการ
1.นางสุภา นวลดุกตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นา่งสุกัญญาลัสมานตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3.นายอุหมาดล่าดี้ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณุสขและสิ่งแวดล้อม อบต.บ้านควน
4.นางสาวนิสากรบุญช่วย ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
การดำเนินงานโครงการบูรณาการร่วมกันระหว่าง ภาคประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
สถานการณ์ในประเทศไทยถึงวันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. ดังนี้
1.ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 11 ราย กลับบ้านแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 43 ราย
2.ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 1 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,252 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 95 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 3,157 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 1,872 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,380 ราย
3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 66 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 2 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 88,282 ราย เสียชีวิต 3,000 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 79,828 ราย เสียชีวิต 2,870 ราย

สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้อยแรงน้อยกว่า SARซึ่งมีอัตราการตาย 10 %

ดังนั้น มาตการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮออล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลและป้องกันตนเองให้แก่ประชาชนในพื้นที่

กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพตำบลบ้านควน ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บ้านควน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดทำโครงการตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ร้อยละของประชาชนมีความรู้เรื่องอาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

10.00 80.00
2 เพื่อสร้างความเข้าใจวิธีการใช้หน้ากากผ้าอย่างถูกต้อง และการผสมเจลล้างมือฆ่าเชื้อหรือสบู่หลวไว้ใช้เอง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมตามที่กำหนดไว้ (คน)

0.00 100.00
3 สามารถผลิตหน้ากากผ้าพึ่งตนเองได้

สามารถผลิตหน้ากากผ้าสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ตำบลบ้านควน ได้ตามจำนวนที่กำหนด (ชิ้น)

0.00 2000.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(หลักสูตร 1 วัน) จำนวน 100 คน ประกอบด้วย
- อสม.หมู่ละ 3 คน* 7 หมู่ จำนวน 21 คน
- ผู้นำท้องที่ หมู่ละ 3 คน7 หมู่บ้าน จำนวน 21 คน
- ผู้นำศาสนา หมู่ละ 3 คน
7 หมู่บ้าน จำนวน 21 คน
- ตัวแทนสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 8 แห่งๆละ 1 คน จำนวน 8 คน (โรงเรียนบ้านกาแนะ,โรงเรียนบ้านควน,โรงเรียนบ้านทุ่งวิมาน,โรงเรียนบ้านกาลูบี, โรงเรียนอัลซอเรี๊ยะ,ศพด.บ้านกาเด๊ะ,ศพด.บ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์,ศดม.บ้านโคกทราย)
- เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 ส่วนๆละ 2 คนจำนวน 12 คน
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน จำนวน 17 คน

กำหนดการจัดอบรม
08.30น.- 09.00น. ลงทะเบียนชี้แจงวัตถุประสงค์ พิธีเปิดโครงการ
09.00น.- 12.00น. การบรรยาย เรื่อง "ทำความเข้าใจไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตัวการก่อโรคปิดอักเสบ ร้ายแรงสะเทือนโลก"
12.00น.- 13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00น.- 14.00น. สอนวิธีการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าอย่างถูกวิธี การล้างมือ 7 ขั้นตอน การป้องกันโรคในช่วงระบาด การคัดกรองโรค
14.00น. - 16.00น. การผสมเจลล้างมือทำเอง
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรณีไม่สามารถหาซื้อเคมีภัณฑ์ในการผสมเจลล้างมือได้

ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 2 มื้อ) คนละ 50 บาท x100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม คนละ 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
4.วัสดุสาธิต จัดทำเจลล้างมือฆ่าเชื้อหรือค่าใช้จ่ายในการซื้อเจลล้างมือฆ่าเชื้อ เป็นเงิน 2,680 บาท
(สูตรการผสม ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ 95 หรือ70 % (450 cc) : กรีเซอร์รีน (30 cc) : เจลลาติน (25 กรัมหรือ 5ช้อนชา)ถ้ามี ขวดบรรจุเจลล้างมือแอลกอฮอล์)
5.ค่าเช่าเครื่องเสียงในการจัดอบรม จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
6. ค่าเช่าเต็นท์ โต๊ะ และเก้าอี้ (เต็นท์ 1 หลัง โต๊ะ 10 ตัว เก้าอี้ 70 ตัว)ชุดละ 1,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2563 ถึง 12 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดต่อได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18580.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทำหน้ากากผ้าใช้เอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทำหน้ากากผ้าใช้เอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิญวิทยากรจากกลุ่มฝึกอาชีพ อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำหน้ากากผ้า หลักสตูร จำนวน 1 วัน
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3.วัสดุที่ใช้ในการทำหน้ากากผ้า(ผ้า ยางยืด เข็ม ด้าย กรรไกร ฯลฯ) เป็นเงิน 12,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสามารถตัดเย็บผ้าปิดจมูกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18600.00

กิจกรรมที่ 3 ตัดเย็บหน้ากากผ้าใช้เอง แก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยขาดตลาด ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อกิจกรรม
ตัดเย็บหน้ากากผ้าใช้เอง แก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยขาดตลาด ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รวมกลุ่ม จิตอาสา ตัดชิ้นผ้า เพื่อรอการเย็บประกอบ
ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.จ้างเหมาเย็บหน้ากากผ้าด้วยจักรเย็บ ในกลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านควน จำนวน 2,000 ชิ้นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 20 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน้ากากผ้าพร้อมใช้งาน จำนวน 2,000 ชิ้น เพื่อบริการแก่ประชาชนที่มีความต้องการในการป้องกันตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรอง ปชช. พูดคุยทำความเข้าใจกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อแบ่งพื้นที่รับผิดชอบในการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าเอกสารการให้ความรู้ จำนวน 2,500 ใบ ๆละ 1 บาท เป็นเงิน 2,500บาท
2.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันตัวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขนาด 1 เมตร*1เมตร (ตร.ม.ละ150 บาท) จำนวน 18 ป้าย เป็นเงิน 2,700 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการลงพื้นที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (รพสต.บ้านควน 1 จำนวน 92 คน รพสต.บ้านควน 2 จำนวน 49 คน)จำนวน 141คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,525 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สื่อให้ความรู้
  • สามารถลงเคาะประตู้บ้านได้ทุกครัวเรือน จำนวน 2,011 ครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8725.00

กิจกรรมที่ 5 แนะนำการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เยาวชนและนักเรียนหน้าเสาธง

ชื่อกิจกรรม
แนะนำการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เยาวชนและนักเรียนหน้าเสาธง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แนะนำให้ความรู้ความเข้าใจ ครูและนักเรียนหน้าเสาธงในการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี (เอาด้านมีสีไว้ด้านนอกและบีบบริเวณเหล็กดันโครงให้กระชับไม่มีรอยรั่ว)
  • แนะนำการล้างมือ 5 ขั้นตอน ความรู้เรื่องโรค การป้องกัน การไอจามที่ถูกต้อง(ใช้แขนรับไม่ใช้มือปิดป้อง) หน้าเสาธง
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถให้ความรู้ครูและนักเรียนหน้าเสาธง ในสถานศึกษา 5 แห่ง ในตำบลบ้านควน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านกาเน๊ะ โรงเรียนบ้านควน โรงเรียนบ้านทุ่งวิมาน โรงเรียนบ้านกาลูบี โรงเรียนอัลซอเรี๊ยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,905.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID19)
2.ลดความตื่นตระหนกของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
3.มีเจลล้างมือ และหน้ากากอนามัยแบบผ้าสำหรับบริการประชาชนที่ต้องการและมีความคลาดแคลน


>