กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้และยกระดับมาตรฐานร้านขำในชุมชนตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน

นายโชคชัย เสนเผือก

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบร้านชำจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ไม่ตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ

 

12.00

การบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนในรูปแบบต่างๆและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด และเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดเกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอาง ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนน สารปรอท กรดวิตามินเอ ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน
ดังนั้นหากผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่ไม่ได้รับความรู้ ไม่ได้รับการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสาเหตุที่มาจากการรับประทานอาหาร การใช้ยาและเครื่องสำอาง อาจทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี แพ้ยา หรือแพ้เครื่องสำอาง ซึ่งการเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของครอบครัวที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา การเฝ้าระวัง ด้านอาหาร ยา และ เครื่องสำอาง จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเจ็บป่วย สาเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และยกระดับมาตรฐานร้านขำในชุมชนตำบลโตนดด้วย ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำในการเลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอาง อาหาร ยา ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้ซึ่งได้ผ่านการตรวจจากคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม อย่างน้อยร้อยละ ๙๐

90.00 92.00
2 .เพื่อให้ร้านขายของชำทุกร้านได้รับการเฝ้าระวัง และตรวจการขายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้านชำผ่านเกณฑ์การประเมินโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายไวนิลโครงการ “โครงการอบรมให้ความรู้และยกระดับมาตรฐานร้านขำในชุมชนตำบลโตนดด้วนปีงบประมาณ 2563” ขนาด 1.2 x 3.0 ตร.ม.ๆละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 540 บาท
  2. แฟ้มใส่เอกสารอบรม จำนวน 25 แฟ้มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  3. ปากกา จำนวน 25 ด้ามๆละ 10 บาท  เป็นเงิน 250 บาท
  4. สมุดจดบันทึก จำนวน 25 เล่มๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท   
  5. ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 25 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  6. ค่าอาหารมื้อเที่ยง ผู้เข้าอบรมและผู้ดำเนินการ จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 1500 บาท
  7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมและผู้ดำเนินการ จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
  8. ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรม 6 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2563 ถึง 9 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม อย่างน้อยร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7715.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,715.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม อย่างน้อยร้อยละ 90
2.ร้านชำผ่านเกณฑ์การประเมินโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ100


>