กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจดูแลและสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาเราะบองอ

นางนิฮัสนะ ฮีแล
นางสาวแพรวพรรณ สาสุธรรม
นางสาวมายีดะห์ วาโมง
นางสาวตัซนีม มันสาและ
นายสุริยัน มุขยวัฒน์

ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจาเราะบองอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1.หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมาย กับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 100

หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ได้

0.00

1. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด ร้อยละ 100
2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 100
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง ร้อยละ 100

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 52

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนจัดตั้งทีมเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กในอสม.52 คนเพื่อร่วมกันค้นหาปัญหาเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็กในงบประมาณปีที่ผ่านมา 3.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องงานอนามัยแม่และเด็กเรื่องภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก
- ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ - เบาหวานขณะตั้งครรภ์ - ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ - โรคเรื้อรังอื่นๆ - ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่นตกเลือดหลังคลอด ภาวะเครียดหลังคลอด 3.3.อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทีมแกนนำอนามัยแม่และเด็กเรื่องการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหญิงหลังคลอด จำนวน 52 ราย - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน X 50 บาท รวมเป็นเงิน2,600.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 52 คน X 25 บาท/2 มื้อ รวมเป็นเงิน2,600.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเป็นเงิน1,200.-บาท รวมเป็นเงิน6,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหลังคลอดได้ 2.เพื่อให้แกนนำอนามัยแม่และเด็กค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6400.00

กิจกรรมที่ 2 focus group หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดที่รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
focus group หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดที่รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.focus group หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดที่รพ.สต. -การหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม -สอนการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก โดยสอนการทำปฏิทินกินยา(ป้องกันการลืม) -การเตรียมสามีหรือญาติเพื่อให้เลือดแก่หญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน X 50 บาท เป็นเงิน5,000.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 X 25 บาทX 2 มื้อ เป็นเงิน 5000.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน1,200.-บาท - ค่าป้ายโครงการ (3 เมตร X 1 เมตร )X750 บาทx 1 ชิ้น เป็นเงิน 750.-บาท รวมเป็นเงิน 11,950.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับการแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11950.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพ่อแม่ “โรงเรียนพ่อแม่” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ

ชื่อกิจกรรม
อบรมพ่อแม่ “โรงเรียนพ่อแม่” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรม “โรงเรียนพ่อแม่” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ ทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน (หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ เข้ารับการอบรมร้อยละ 90,สามีและญาติเข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 30) -ดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
    • ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่หญิงตั้งครรภ์
    • การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย
    • สอนภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนX 25 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
    • ค่าอาหารอาหารกลางวัน จำนวน 200 คนX 50 บาท เป็นเงิน 10,000.-บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารคู่มือโรงเรียนพ่อแม่เป็นเงิน 1,000.-บาท รวมเป็นเงิน 16,000.-บาท 2.อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป (ร้อยละ100 หญิงตั้งครรภ์ต้องเจาะเลือด (lab 2),ร้อยละ60ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์,หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ,ภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10)
    • สอนการนับลูกดิ้นและการบันทึก
    • การสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์
    • เจาะเลือดครั้งที่ 2
    • สาธิตท่าให้นมบุตร(ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน,การเก็บนมของมารดาที่ทำงานนอกบ้าน)
    • การเตรียมการคลอด(หลักฐานต่างๆ อุปกรณ์แม่และเด็ก)
    • สอนการหายในและการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวด
    • สอนการวางแผนครอบครัวในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่เป็นโรคเรื้อรัง
    • สอนให้ความรู้ตรวจหลังคลอดคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และญาติได้รับการอบรมการดูแลขณะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดการมีส่วนร่วมและได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล เขาตูม ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอนามัยแม่
2. หญิงมีครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
3. ทีมงานแกนนำอนามัยแม่และเด็ก มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก สามารถถ่ายอดความรู้สู่ชุมชนได้ และชุมชนมีแผนงาน มีมาตรการทางสังคมเพื่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กโดยชุมชน
4. ลดอัตราเสี่ยงการตายของมารดา


>