กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ชมรม อสม. หมู่ 2 บ้านโคกโดน

1.นายทวี จงหวัง
2.นางลัดดาภรณ์ นวลละออง
3.นางบุญเสริฐ ทิพย์มาก
4.นางสุมล ขุนแทน
5.นางหนูอั้น ฮวดไล่

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน หมู่ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

 

32.00
2 ร้อยละประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันที่บ้านและส่งผลไป วินิจฉัยโรค

 

5.00

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาอันดับสองของจังหวัดพัทลุง รองจากปัญหาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะ
ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา โรคความดันสูงแบ่งเป็น ๒ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการณ์เกิดได้ แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัย อายุ : อายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นมีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง : โรคนี้มีโอกาสพบได้ในคนในครอบครัวเดียวกันรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำรับประทานเกลือมีเกลือในอาหารที่รับประทานสูงเป็นประจำขาดการออกกำลังกายน้ำหนักเกิน อ้วนสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปความเครียดในส่วนของโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายสภาวะเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิดการใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์อันตรายจากโรคนี้ทำให้เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาตพิการได้ ทำให้เป็นปัญหากับตนเองครอบครัวชุมชน เสียค่าใช้จ่าย ค่าดูแล และขาดรายได้ การคัดกรองโรคทำได้โดยการวัดความดันโลหิตผู้รับบริการ
อำเภอควนขนุน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๒จำนวน ๑๑,๑๙๐ คน คิดเป็น ๑๗,๖๔๔.๒๗ต่อแสนประชากรมีอัตราผู้ป่วยใหม่ จำนวน ๙๗๘ คน คิดเป็น ๑,๑๕๙.๗๖ ต่อแสนประชากร ในส่วนของตำบลโตนดด้วนมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๒ ทั้งตำบล จำนวน ๘๙๒ คนคิดเป็น ๑๓,๖๑๘.๓๒ ต่อแสนประชากร มีอัตราผู้ป่วยใหม่จำนวน ๗๔ คน คิดเป็น ๑,๑๙๘.๗๖ต่อแสนประชากรและในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
ในปี ๒๕๖๒ หมู่ที่ ๒ มีผู้ป่วยใหม่ จำนวน ๙ คนจะเห็นได้จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิตกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ ๓๕ขึ้นไป ในปี ๒๕๖๒ หมู่ที่ ๒ มีประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๓๐๔ คน ได้รับการคัดกรอง ๒๙๕ คน พบว่าผู้ที่ได้รับการคัดกรอง เป็นปกติ ๑๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓๖ กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๒๒ กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๔๒ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยจะต้องได้รับการติดตามดูแล ให้ได้รับบริการวัดความดันซ้ำตามเกณฑ์ที่กำหนดในแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงคือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการบริการวัดความดันซ้ำ เดือนละ ๑ ครั้ง จากอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ และหากความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกราย ในส่วนของกลุ่มสงสัยป่วย คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องติดตามเพื่อให้ได้รับการดูแลและต่อเนื่องเพื่อให้เข้ารับการรักษาเป็นกลุ่มผู้ป่วย ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต ที่บ้านคนละ ๗ วันติดต่อกัน วันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็นทุกวัน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ เมื่อครบแล้วอาสาสมัครจะนำผลการวัดความดันโลหิตเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยว่ากลุ่มสงสัยป่วยเหล่านี้ จะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ หากเป็นผู้ป่วยจะได้รับยาและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จะมีการติดตามวัดความดันโลหิตจากอาสาสมัครสาธารณสุขต่อไปเดือนละ ๑ ครั้ง
จากที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตให้เพียงพอกับกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีอุปกรณ์ในการดำเนินงานติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ ๒ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

114.00 114.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค

ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และส่งผลไป วินิจฉัยโรค

16.00 16.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 304
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ (เครื่องวัดความดันโลหิต)

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ (เครื่องวัดความดันโลหิต)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 3,300 บาท เป็นเงิน  9,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสียงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์


>