กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดนักสูบหน้าใหม่และเลิกสูบในนักสูบหน้าเก่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งใหญ่

1.นางอำนวย บุญรัศมี
2.นางธเนตรตารักเลิศ
3.นางนงนารถบุญทัสโร
4.นางมุกดา บุญเพ็ชร
5.นางเตือนใจ สุนทโร

ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดสงขลาที่สูบบุหรี่

 

151,392.00

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้แก่โรคปอดอุดกั้นโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือดเป็นต้นจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรพ.ศ.2560พบว่าจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น55.9 ล้านคนเป็นผู้สูบบุหรี่ 10.7ล้านคน(ร้อยละ 19.1)โดยในจังหวัดสงขลามีประชากรที่สูบบุหรี่เป็นประจำและดื่มสุราสม่ำเสมอจำนวน151,392คน โดยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่พบว่ามีเด็กและเยาวชนหลายคนมีความเสี่ยงต่อการทดลองสูบบุหรี่และมีอีก หลายรายที่เริ่มสูบบุหรี่แล้วจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเด็กและเยาวชนในพื้นที่จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้มีผู้สูบรายใหม่เพิ่มขึ้นและผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อกันจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชินและการสูบบุหรี่ยังสร้างภาวะเสี่ยงแก่ผู้สูบและผู้ที่อยู่รอบข้างจะได้รับควันบุหรี่มือสองโดยการสูบบุหรี่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่ในนักสูบหน้าใหม่และลดนักสูบหน้าเก่าในเด็กและเยาวชนจึงได้จัดทำโครงการขึ้น และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและเยาวชนของชาติที่จะเติบโตเป็นอนาคตต่อไป โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งใหญ่ได้จัดโครงการในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เนื่องจากเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีกิจกรรมในโรงเรียนตามปกติและบางคนมีการเรียนพิเศษและติวเนื้อหาวิชาเรียนที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน และมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมนอกสถานที่เนื่องจากเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จะหนีกลับบ้านเมือทานอาหารกลางวันเสร็จแล้ว และเพื่อเป็นการเรียนรู้โดยการเห็นจริงโดยการสร้างความตระหนักจึงนำเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาเรียนรู้โดยการเห็นจริงในทัณฑสถานเปิดบ้านนาวงเนื่องจากเรือนจำกลางจังหวัดสงขลาไม่เปิดให้เด็กและเยาวชนเข้าศึกษาเรียนรู้จากการเห็นจริงในวันหยุดราชการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่ในนักสูบหน้าใหม่ และลดนักสูบหน้าเก่าในเด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนผู้เขัาร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่

100.00 80.00
2 เด็กและเยาวชนผู้เขัาร่วมโครงการร้อยละ 80 เกิดความตระหนักถึงโทษบุหรี่และโทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

เด็กและเยาวชนผู้เขัาร่วมโครงการร้อยละ 80 เกิดความตระหนักถึงโทษบุหรี่และโทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/06/2020

กำหนดเสร็จ 07/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสัมนาเชิงวิชาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสัมนาเชิงวิชาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เรื่องปัญหาและผล กระทบที่เกิดจากการสูบบุหรี่/บทบาทและคุณค่าความเป็น
ชายในสังคม/ความเสี่ยงในการทดลองบุหรี่ 1.2กิจกรรมเวทีถาม-ตอบ ไขข้อข้องใจวัยรุ่น 1.3กิจกรรมรวมกลุ่มเสนอความคิดเห็นและมุมมองใน การปฏิเสธการสูบบุหรี่ /การลดและเลิกบุหรี่ งบประมาณ 62,400 บ. 1.1ค่าอาหาร 2มื้อ x80บx 40คน = 6,400 บ. + 1.2ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม 2มื้อx30บ.x 40คน=2,400บ.
1.3ค่าจ้างเหมารถบัสปรับอากาศ1คันวันละ13,000 บ.xจำนวน 2 วัน=26,000บ.
1.4ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร) 1ผืน =300 บ. 1.5ค่าห้องประชุม 1 ห้อง x3,000 บ. = 3,000บ.
1.6ค่ากระเป๋าพร้อมเอกสารให้ความรู้ 40 ชุด x 50 บ.=2,000 บ.
1.7ค่าตอบแทนวิทยากร5ชั่วโมง x 600 บ.x4 คน =10,000 บ.
1.8ค่าที่พักจำนวน40คน x250บ. = 10,000 บ.
1.9วัสดุสิ้นเปลือง (กระดาษบรูฟ/ปากกา/สี)=300

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2563 ถึง 6 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62400.00

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้จากการเห็นจริง

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้จากการเห็นจริง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฟังบรรยายพร้อมศึกษาโดยการเห็นจริงในทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง จังหวัดพัทลุง 1.1 อำนาจหน้าที่ของทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง 1.2ชมวีดีทัศน์บุคคลที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด 1.3เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง จังหวัดพัทลุงยกตัวอย่างกรณีศึกษา 1.4ผู้ต้องหายาเสพติดเปิดใจกับผู้เข้าร่วมโครงการ 1.5ไขข้อข้องใจปัญหายาเสพติดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 1.6เยี่ยมชมสถานที่กักขังผู้ที่ศาลสั่งให้เข้ามาบำบัดยาเสพติดพร้อมบรรยาย งบประมาณ 7,600 บาท 1.1ค่าอาหาร 2 มื้อ x 80 บ. x 40 คน =6,400 บ. 1.2อาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ x 30 บ. x 40 คน =1,200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2563 ถึง 7 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักถึงโทษบุหรี่และโทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่
2.เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักถึงโทษบุหรี่และโทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด


>