กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุ ยุค 4.0 ใส่ใจสุขภาพกายและใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

ชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งใหญ่

1.นายพงศ์แก้ว ไชยสวัสดิ์
2.นางสมคิดมุสิกะศิริ
3.นางเสริมไชยคีรี
4.นางโฉมฉาย บัวบล
5.นางชะอ้อนอาวะภาค

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สุขภาพผู้สูงอายุ

 

60.00

“ผู้สูงอายุ” หรือ กลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีทั้งความเปราะบาง และความเสี่ยง ต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ภาวะร่างกายที่เสื่อมถอย มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร
การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นได้ปัจจุบันผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะประชากรผู้สูงอายุ อันจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุ ครอบครัว และประเทศชาติ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมีการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ไม่สามารถไปรับการรักษาได้ทั่วถึง เพราะมีปัญหาในการคมนาคม งบประมาณ ฉะนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างสรรค์กิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ สร้างสุขภาพให้ตัวเอง กิจกรรมการออกกำลังกายและนันทนาการ ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พัฒนาอารมณ์ให้มีความสุข สนุกสนานเพลิดเพลิน คลายความเครียด อีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อปี 2559 องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ มีจำนวนผู้สูงอายุ 841 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 และปี 2562 มีจำนวนผู้สูงอายุ 1,158 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 จะเห็นได้ว่า 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย โดยในขณะนี้ถือว่าตำบลทุ่งใหญ่ เข้าสู่ตำบลผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบแล้ว อีกทั้งผู้สูงอายุยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยไม่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น ประกอบกับปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) โรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก "Coronavirus diseasw 2019 " เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัลโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ (MERS) โดยในประเทศไทย ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังทั้งสิ้น 4,151 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อยังคงรับไว้ในโรงพยาบาล 1,631 ราย อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว 2,352 ราย และอยู่ระหว่างสังเกตอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกและที่บ้าน 31 ราย เป็นผู้ป่สยติดเชื้อยืนยันสะสม 51 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาการรุนแรง 1 ราย นั้น
ชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งใหญ่ ได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของผู้สูงอายุในทุกๆด้าน จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุ ยุค 4.0 ใส่ใจสุขภาพกายและใจ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคลอ้งกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุโดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมตามแบบผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพเพื่อเป็นการเสริมสร้างกิจกรรมด้านการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ นำไปสู่การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมายให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสุขภาพร่างกาย โดยไม่เป็นภาระพึ่งพิงต่อสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในด้านสุขภาพ ร่างกาย สังคมและจิตใจ

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ทางร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสติปัญญา

0.00
2 เพื่อสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80  ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลเอาใจใส่ในบริการสุขภาพผู้สูงวัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 14/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม 1.ค่าวิทยากรจำนวน2 คนๆละ3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600.-บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน60 คนเป็นเงิน3,600.-บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาทจำนวน 60 คน เป็นเงิน3,600.-บาท 4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน1 ป้าย เป็นเงิน500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2563 ถึง 9 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติการทำเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติการทำเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวัสดุในการจัดทำเจลล้างมือแอลกฮอล์    เป็นเงิน   4,880.-บาท 2.ค่าวัสดุในการจัดทำหน้ากากอนามัย           เป็นเงิน    5,000.-บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 1  มื้อ ๆละ  60 .-บาท  จำนวน  60 คน   เป็นเงิน   3,600.-บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  2 มื้อๆละ  30.-บาท  จำนวน  60 บาท   เป็นเงิน  3,600.-บาท 5.ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม  จำนวน  1 ป้าย     เป็นเงิน  500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2563 ถึง 23 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุสามารถทำเจลล้างมือและทำหน้ากากอนามัยได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17580.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติวิธีการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติวิธีการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร   จำนวน  2 คนๆละ  3 ชั่วโมงๆละ  600 บาท    เป็นเงิน  3,600.-บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  1  มื้อๆละ  60 บาท   จำนวน  60 คน   เป็นเงิน  3,600.-บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จำนวน  2 มื้อๆละ  30 บาท  จำนวน  60 คน   เป็นเงิน  3,600.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2563 ถึง 12 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุสามารถใช้ผ้าขาวม้าออกกำลังกายอย่างถูกวิธีโดยไม่ต้องลงทุนในราคาแพง เพื่อแลกกับการมีสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สุขภาพและสังคม
2.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
3.ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการพบปะกันเพื่อลดภาวะซึมเศร้า


>