กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลจะโหนง

1.นายประถมประทุมมณี
2.นายวิมลทองชนะ
3.นางเสาด๊ะสอโส๊ะ
4.นางสมบูรณ์หลัดเกลี้ยง
5.นางอุทัยเอียดทอง

พื้นที่ ม.1,5,6,7,8,10 ตำบลจะโหนงอำเภอจะนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในพื้นที่ ป่วยด้วยภาวะโรคเรื้อรัง(เบาหวาน,ความดันสูง)

 

28.00
2 2 ประชาชนในพื้นที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรคเรื้อรัง(เบาหวาน,ความดันสูง)

 

44.00
3 ผู้ซื้อยาปฏิชีวนะ(ฆ่าเชื้อ) ยาแก้อักเสบจากร้านชำรับประทานเอง ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

 

70.00
4 ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคหวัด

 

28.00
5 ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง

 

27.00
6 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง

 

60.00

จากการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาของชุมชน พบว่า ประชาชนเข้าถึงยาอันตรายได้ง่ายโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ) และยาแก้อักเสบเมื่อสอบถามร้านชำพบว่าผู้ที่มาขอซื้อยากลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และจะอันตรายมากขึ้นเมื่อเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจไต การเข้าถึงยาได้ง่ายของประชาชนโดยไม่ผ่านบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญอาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อไปในอนาคตมากมายเช่นการใช้ยาปฏิชีวนะ พร่ำเพรื่อทำให้เกิดเชื้อโรคดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ทำให้เชื้อโรคมีความทนต่อยาที่เคยยับยั้งหรือฆ่าตัวเชื้อได้ผล กลับใช้ไม่ได้ผล หรือยากลุ่มแก้อักเสบใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวม หรือ อักเสบต่างๆ เช่น แก้ปวด รักษาโรคข้ออักเสบต่างๆ เมื่อรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรังจนนำไปสู่ภาวะไตวายมีการเฝ้าระวังในพื้นที่ชุมชนไม่พบรถเร่ขายยาโดยเฉพาะแต่จะเป็นรถเร่ขายยาที่แฝงมากับการส่งสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับร้านชำ ทีมงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงเล็งเห็นว่าหากมีการประชาสัมพันธ์อันตรายจากการใช้ยาให้กับกลุ่มคนต่างๆในสังคมการเยี่ยมบ้านผู้ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องในรูปแบบต่างๆให้มีส่วนรับรู้และร่วมเป็นเครือข่ายช่วยดูแลสังคม รวมถึงการจัดการร้านชำให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัยอย่างเหมาะสมกับสภาพความจริงกำหนดมาตรการป้องกันการเร่ขายยาในชุมชน จนส่งผลให้ชุมชนมีความปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมทีมงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

มีทีมงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ

2.00 2.00
2 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบในร้านชำ

ร้านชำไม่จำหน่ายยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบร้อยละ 80

80.00 80.00
3 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบร้อยละ80

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 821
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 521
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 62
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยติดบ้าน/ผู้ป่วยติดเตียง 21
ร้านค้า 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน30คนจำนวน 1วัน เนื้อหาการประชุม - สถานการณ์/ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค - ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเบื้องต้น - การฝึกปฏิบัติด้านการตรวจสอบสินค้าอาหารยา และสินค้าต่างๆ - การประชุมกลุ่มนำเสนอปัญหาแนวทางแก้ไขในพื้นที วัสดุอุปกรณ์การประชุมเป็นเงิน1000บาท ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน3000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 80 บาทอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท วันละ130บาทจำนวน 32 คนเป็นเงิน 4160 บาท ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่นจำนวน500บาท ค่าห้องประชุมและเครื่องเสียง1500บาท ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยในแต่ละหมวด

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายเฝ้าระวังด้านอาหารและยาในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง อย่างน้อย 1เครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9160.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านสำรวจการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้ความรู้แนะนำการปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านสำรวจการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้ความรู้แนะนำการปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การสำรวจภาวะเสี่ยงและให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ยาแก้อักเสบ - เตรียมทีมสำรวจแนะนำแนวทางการเยี่ยม/ให้ความรู้ ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 65คน เป็นเงิน1625บาท - กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง6 หมู่บ้าน จำนวน 521 คนๆละ2ครั้งห่างกัน6เดือน ค่าตอบแทนการสำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 521คนๆละ 5 บาทจำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 5210 บาท ค่าเอกสารการสำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรัง500 บาท ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยในแต่ละหมวด

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความปลอดภัยจากการใช้ยาสามารถปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7335.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจร้านชำ แนะนำการเลือกผลิตภัณฑ์อาการ ยา เครื่องสำอาง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจร้านชำ แนะนำการเลือกผลิตภัณฑ์อาการ ยา เครื่องสำอาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมสำรวจตรวจร้าน22 ร้าน ห่างกัน6เดือน ค่าตอบแทนการสำรวจ จำนวน22 ร้านจำนวน 2 ครั้งๆละ 100 บาทรวมเป็นเงิน 4000บาท ค่าเอกสารการตรวจคู่มือร้านชำจำนวน4 ชุด ๆละ350บาท เป็นเงิน 1400บาท ค่าเอกสารตรวจร้านชำ เป็นเงิน 300บาท ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยในแต่ละหมวด รวบรวมข้อมูลปัญหานำเสนอผ่านที่ประชุมอสม./ผู้นำชุมชน สรุปประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำปลอดจากอาหารเครื่องสำอางและยาอันตราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถดูแลสุขภาพตนเองให้มีความปลอดภัยจากการใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ ช่วยชลอภาวะไตเสื่อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนดำรงชีพอย่างมีความสุขตามสุขภาวะ


>