กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด

หมู่ที่ 1,3,4 และ 7 ตำบลฆอเลาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นทุกปี และเป็นโรคติดต่อที่เรียกกันว่า โรคประจำถิ่นที่มีผลกระทบต่อประชาชน เช่น โรคอุจจาระร่วง ตาแดง ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ มือ เท้า ปาก มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว ถ้าประชาชนไม่มี
ความรู้ ในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวในปี 2563โรคประจำถิ่น เช่นไข้เลือดออก จะมีแนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มขึ้น จึงเน้นการดำเนินการ ในรูปแบบบูรณาการ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนหน่วยงานของรัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้การควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคประจำถิ่น มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพภาพมากขึ้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าว จึงได้เสนอเพื่อจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยของโรคติดต่อในพื้นที่

1อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา

0.00
2 2.เพื่อให้ชุมชน อบต. โรงเรียนหน่วยงานต่างๆภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีการดำเนินงานแบบบูรณาการ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

2.ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่โดยการรณรงค์ในหมู่บ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์พ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์พ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมพ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย -ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 4 ม. จำนาวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท x 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าเครื่องพ่นหมอกควันขนาดเล็กจำนวน  2 เครื่องๆละ 6,000 บาท x 2 เครื่อง เป็นเงิน 12,000 บาท -ค่าน้ำมันดีเซล 60 ลิตร x 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท -ค่าน้ำมันเบนซิน 20 ลิตร x 33 บาท  เป็นเงิน 660 บาท -ค่าน้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 1 ขวด  เป็นเงิน 540 บาท -ค่าสเปรกำจัดยุง 47 กระป๋อง x 80 บาท เป็นเงิน  3,760 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง และประชาชนในพื้นที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21310.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ และนำความรู้ไปปฏิบัติได้
2.ชุมชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่อย่างยั่งยืน
3.จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง


>