2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนเช่น โรคตา โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวา จึงได้เห็นความสำคัญ เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่าย อสค.และแกนนำสุขภาพ เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวา จึงได้จัดทำโครงการชุมชนรู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2020
กำหนดเสร็จ 30/09/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วย ( ปิงปองจราจร 7 สี )
2. เสริมสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง
3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ