กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมาตรการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นางสาวมารียะ สาเมาะแม

ห้องประชุมโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา (แผนกประถม)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆ ปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,219 คน โดยเสียวชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรงเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียวชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียวชีวิตสูงมากกว่าโรงติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออกถึง 14 เท่าตัวจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุก ๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต1 คนโดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือน ประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการมน้ำเสียชีวิตมากกว่า90คนซึ่งในช่วง10 ปี ที่ผ่านมา (ปี2549 – 2558) ประไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อำนวยกาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานแถลงข่าวรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปิดล็อค เด็กจมน้ำตายต้องเท่ากับศูนย์ พร้อมเปิดกิจกรรมรณรงค์และเยี่ยมชมจุดสาธิตมาตรการการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ
ในส่วนของ กระทรวงสาธารณสุขออกมาแถลงเรื่องนี้ ว่า การจมน้ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั่วโลกเสียชีวิต ปีละ 135,585 คน เฉลี่ยวันละ 372 คน ขณะที่ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากเหตุจมน้ำปีละเกือบ 4,000 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,400 คน เฉลี่ยวันละเกือบ 4 คน ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตของเด็กจากทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อโดยช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดจำนวน 182คน รองลงมา คือ มีนาคม 148 คน และพฤษภาคม 141 คน กลุ่มเด็กอายุ 1-9 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด สาเหตุที่เด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตกันมาก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังขาดทักษะว่ายน้ำ ซึ่งถือว่าเด็กไทยขาดทักษะด้านนี้อย่างมาก และการสอนว่ายน้ำในขณะนี้ ยังขาดในเรื่องของทักษะความปลอดภัยทางน้ำทักษะการเอาชีวิตรอด การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำและการช่วยชีวิตคนจมน้ำ
ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและวิธีในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับอุบัติเหตุ (คนจมน้ำ) ที่อาจเกิดขึ้น และยังสามารถเกิดการเรียนรู้ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเกิดความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนทั่วไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือคนเด็กน้ำ เบื้องต้น

 

0.00
2 เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนในพื้นที่

 

0.00
3 เพื่อสร้างทักษะ และวิธีการที่ถูกต้องในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

 

0.00
4 เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการจมน้ำ ลดการเกิดอุบัติเหตุ (การจมน้ำ) ได้รับความ ช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว จึงเกิดความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนทั่วไป

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน1,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ600บาทเป็นเงิน2,400 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม ผู้สังเกตการณ์ และวิทยากร จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาทจำนวน90คนเป็นเงิน4,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม ผู้สังเกตการณ์ และวิทยากรจำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน90คนเป็นเงิน4,500 บาท
  4. ค่าวัสดุในการฝึกอบรม 5.1 คู่มือประกอบการอบรมจำนวน 80เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400บาท 5.2 ปากกาจำนวน80ด้าม ๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน400บาท 5.3 ค่าแฟ้มเอกสาร จำนวน 80 ใบ ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน 2,800บาท
  5. ค่าเช่าสถานที่ (สระว่ายน้ำ) จำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,500บาท
  6. ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน1วัน เป็นเงิน 1,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนสามารถเรียนรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ได้
  2. ประชาชนทั่วไป ได้รับความปลอดภัย จากการจมน้ำ
  3. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่น จากการจมน้ำด้วยวิธีที่ถูกต้อง
  4. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การจมน้ำ และความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20500.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะและวิธีการปฏิบัติในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำอย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะและวิธีการปฏิบัติในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำอย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนสามารถเรียนรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ได้
  2. ประชาชนทั่วไป ได้รับความปลอดภัย จากการจมน้ำ
  3. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่น จากการจมน้ำด้วยวิธีที่ถูกต้อง
  4. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การจมน้ำ และความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนสามารถเรียนรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ได้
2. ประชาชนทั่วไป ได้รับความปลอดภัย จากการจมน้ำ
3. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่น จากการจมน้ำด้วยวิธีที่ถูกต้อง
4. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การจมน้ำ และความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน


>