กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนการ พัฒนาการตามวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา

รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเจริญเติบโตเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ที่แสดงถึงภาวะสุขภาพของประชากรวัยเด็กและเยาวชน การเจริญเติบโตเป็นผลมาจากภาวะโภชนาการ หรือการได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามวัย
อันจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ หากเด็กที่อยู่เป็นวัยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ได้รับสารอาหารมาเพียงพอจะทำให้ร่างกายไม่สามารถเติบโต และพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ กล่าวคือ นอกจากจะ
ทำให้น้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์แล้ว ยังมีผลให้ความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้ด้อยลงไป
ความต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยบ่อย ติดเชื้อง่าย และเมื่อเจ็บป่วยก็จะมีอาการรุนแรงกว่าเด็กที่มีการเจริญเติบโต
และพัฒนาการปกติในทางกลับกัน เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน หรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะส่งผลให้เด็ก
มีปัญหาสุขภาพในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เป็นต้น
ในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจำนวน 585 คน ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 555 คน คิดเป็นร้อยละ 94.87 พบอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 2.88 และเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 3.7 จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปจากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงได้จัดทำโครงการโครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนการ พัฒนาการตามวัย เพื่อพัฒนางานโภชนาการและส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด -72 เดือนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน

1.อัตราความคลอบคลุมการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72เดือนรัอยละ 90

90.00
2 2. เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคน ได้รับการแก้ไขให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

2.1เด็กอายุ 0-72 เดือนสูงดีสมส่วนร้อยละ 60 2.2 อัตราเด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 7

60.00
3 3.เพื่อพัฒนางานโภชนาการและเสริมสร้างความเข็มแข็งของภาคีเครือข่ายในชุมชน

3.งานโภชนาการและเสริมสร้างมีความเข็มแข็งของภาคีเครือข่ายในชุมชน

50.00
4 4. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

4.เด็กอายุ0-7 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 38
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักเด็ก ระบบดิจิตอลราคาเครื่องละ 750 บาท จำนวน 3 เครื่อง เป็นเงิน2,250 บาท - ค่าที่วัดความยาว จำนวน 1 ชุด ราคา 1,990 บาท เป็นเงิน1,990 บาท - ค่าวงล้อแปลผลน้ำหนัก-ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ เด็กอายุ 1-6 ปี จำนวน 1 ชิ้น ราคา 1490 บาท เป็นเงิน 1,490บาท รวมเป็นเงิน5,730บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5730.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการและสาธิตอาหารให้กับผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการและสาธิตอาหารให้กับผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการและสาธิตอาหารให้กับผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คน คนละ ๒ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 2,400บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 48 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 2,400บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คนคนละ 2 ชม. ชั่วโมงละ 400บาทเป็นเงิน 1,600บาท
- ค่าจัดทำวัสดุไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 2.0 เมตร ราคา 500 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน500บาท
-ค่าจ้างเหมาสาธิตอาหารและจ้างเหมาประกอบอาหาร จำนวน 1 ครั้ง x 3,000 บาท - ข้าวกล้อง5 กิโลกรัมๆ ละ80 บาท เป็นเงิน 400บาท - อกไก่9 กิโกกรัม ๆละ90 บาท เป็นเงิน 810บาท - ไข่ไก่8 แผงๆ ละ90 บาท เป็นเงิน 720บาท - ฟักทอง 5 กิโลกรัมๆละ 25 บาท เป็นเงิน 125บาท - แครอท5 กิโลกรัมๆละ40 บาท เป็นเงิน 200บาท - มะเขื้อเทศ5 กิโลกรัม ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 200บาท - ผักกาดหอม 2 กิโลกรัมๆละ 35 บาท เป็นเงิน 70บาท - ผักคะน้า5 กิโลกรัมๆละ25 บาท เป็นเงิน 125บาท - น้ำมัน5 ขวด ๆละ 45 บาท เป็นเงิน 225บาท - ซีอิ๊วขาว 2 ขวดๆละ45 บาท เป็นเงิน 90บาท - เกลือ2 ถุงๆละ5บาท เป็นเงิน 10บาท - น้ำปลา1 ขวดๆละ25 บาท เป็นเงิน 25บาท รวมเป็นเงิน 3,000บาท
รวมเป็นเงิน 9,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
    1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ   - ค่าอาหารเสริม (นมกล่อง) ขนาด 180 มล. จำนวนกล่องละ 10 บาท คนละ 90 กล่อง จำนวน 38 คน
เป็นเงิน  34,200 บาทรวมเป็นเงิน  34,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


>