กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงออกกำลังกาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร

ชื่อองค์กร กลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
กลุ่มคน (ระบุ ๕ คน)
1. นายณรงค์ด้วนมี ประธานกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
2. นายพงศธรทองแท้ รองประธานกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
3. นายนิติธรรมทองกรด กรรมการกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
4. นายกฤตพลสันมาแอ กรรมการกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
5. นายณัฐวุฒิด้วนมี เลขานุการกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ชื่อ นายณรงค์ด้วนมี
ตำแหน่ง ประธานกลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร
เบอร์โทรศัพท์ 081 - 3885341
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 285 หมู่ 4 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล 91000

ลานอเนกประสงค์ชุมชนเอื้ออาทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

35.00

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
กลุ่มตะกร้อประชาชนชุมชนเอื้ออาทร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการออกกำลังกาย กระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการออกกำลังกายและเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่ประชาชนในเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกาย รวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีความเข้มแข็งในชุมชนและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 45.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

35.00 40.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

มีประชาชนมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 45

40.00 45.00
4 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย

ประชาชนที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย อย่างน้อยร้อยละ 40

35.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตะกร้อ จำนวน 20 ลูกๆ ละ 300 บาท                เป็นเงิน  6,000  บาท
    • ค่าเสาตะกร้อ จำนวน 1 คู่ๆ ละ ๖,500 บาท                เป็นเงิน  6,5๐0  บาท
  • ค่าตะข่ายตะกร้อ จำนวน 3 ชุดๆ ละ 500 บาท                เป็นเงิน  1,5๐0  บาท
  • ค่าห่วงเหล็กตะกร้อลอดบ่วง 1 ชุด ละ 2,000 บาท          เป็นเงิน  2,000  บาท
  • ค่าป้ายโครงการ “ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงออกกำลังกาย”
      ขนาด 1 x 4 เมตร                                                                      เป็นเงิน  5๐0     บาท
  • ค่า ใช้จ่ายอื่นๆ ที่ใช้ในโครงการ
      (ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปรายงาน,หลักฐาน,เอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ)      เป็นเงิน  500     บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ประชาชนมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรม
ผลลัพธ์ ประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย


>